สำนักราชบัณฑิตยสภา
ขบวนการกรรมกรและสหภาพแรงงานในฝรั่ งเศสจากอดี ตถึ งปัจจุบั น 146 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ผลงานที่ส� ำคัญของสหภาพแรงงาน การด� ำเนินงานของสหภาพแรงงานย่อมส่งผลต่อการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเหล่าผู้ใช้ แรงงาน ซึ่งกว่าจะบรรลุผลส� ำเร็จได้ในแต่ละประเด็นก็ต้องแลกด้วยการเสียสละและการรวมน�้ ำใจในการ ต่อสู้ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเหล่าผู้ใช้แรงงานจึงมักมิได้มาด้วยวิธีการสันติ ในวันแรงงานสากลเมื่อ วันที่ ๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) ผู้น� ำแรงงานเอมีล ปูเฌ (Émile Pouget) ได้กล่าวว่า “การปฏิวัติสังคมจะส� ำเร็จได้ก็ด้วยความพยามยามอันยิ่งยวดเท่านั้น” (Reynaud, ๑๙๖๖ : ๑๔๘) ตัวอย่างการต่อสู้อันยากล� ำบากของผู้ใช้แรงงาน เช่น การต่อสู้เพื่อก� ำหนดเวลาท� ำงาน ๘ ชั่วโมง ต่อวัน เอมีล ปูเฌ ได้เขียนเรียกร้องไว้ใน La Voix du peuple ฉบับวันที่ ๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๐๑ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ให้ผู้น� ำแรงงานฝรั่งเศสศึกษาการต่อสู้ของสหภาพแรงงานในสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. ๑๘๘๖ (พ.ศ. ๒๔๒๙) ซึ่งด� ำเนินการเรียกร้องเวลาท� ำงาน ๘ ชั่วโมงต่อวัน จนเป็นผลส� ำเร็จ เขาชี้ว่าความส� ำเร็จนี้เกิดจาก ความต้องการ (vouloir) และการปฏิบัติการ (agir) ปูเฌเสนอว่าการปฏิรูปแรงงานที่เป็นไปได้มากที่สุดขณะ นั้นคือการเรียกร้องเวลาท� ำงาน ๘ ชั่วโมงต่อวัน ต่อมาสหภาพช่างยนต์แห่งเมืองลียงได้หยิบยกข้อเสนอ ของปูเฌมาพิจารณาในการประชุมเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๐๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) และใน ค.ศ. ๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๕๗) เลขาธิการกลุ่มสหภาพแรงงานแห่งเมืองลียงได้เสนอแผนการรณรงค์เรียกร้องให้มีการก� ำหนดเวลา ท� ำงาน ๘ ชั่วโมงต่อวัน ในขณะเดียวกันหนังสือ La Voix du peuple ฉบับวันที่ ๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) ตีพิมพ์ค� ำเรียกต้องของปูเฌ ( Reynaud , ๑๙๖๖ : ๑๔๘) ว่า “การพัฒนาคุณภาพชีวิตย่อมเป็นไปไม่ได้ถ้าปราศจากความเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน... การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่จะเรียกร้องเอาจากลุ่มอภิสิทธิ์ชนนั้นจะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจิตส� ำนึก การมีส่วนร่วม และความเข้มแข็งเอาจริงเอาจังของผู้ใช้แรงงาน” การประชุมที่เมืองบูร์ฌ (Bourges) จึงนับเป็นเหตุการณ์ที่ส� ำคัญในประวัติศาสตร์ของผู้ใช้แรงงาน ฝรั่งเศส ในการประชุมครั้งนี้ นับได้ว่าแนวคิดจากการประชุมสหภาพแรงงานสากลครั้งที่ ๑ เกี่ยวกับการ ปลูกฝังจิตส� ำนึกในการเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานได้รับการสืบสานต่ออย่างประสบผล นอกจากนี้ยังเป็นการ ขานรับแนวคิดของปูเฌ ๓ ประการ ( Dolléans , ๑๙๖๗ : ๑๒๔) ได้แก่ ๑. สหภาพแรงงานเป็นหัวหอกในการเรียกร้องต่อนายจ้างให้ลดความเอารัดเอาเปรียบ และให้ ความใส่ใจต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ๒. สหภาพแรงงานต้องเตรียมการสร้างสรรค์ให้เกิดความร่วมใจในหมู่ผู้ใช้แรงงาน ๓. สหภาพแรงงานเป็นองค์กรที่ท� ำการเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=