สำนักราชบัณฑิตยสภา
145 จิ นตนา ด�ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ต่อมาบทน� ำของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสฉบับ ค.ศ. ๑๙๕๘ (พ.ศ. ๒๕๐๑) ได้กล่าวย�้ ำหลักการ ข้างต้นว่า “ประชาชนฝรั่งเศสมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับเรื่องสิทธิมนุษยชน และหลักความเป็นไท แห่งชาติซึ่งได้ประกาศเมื่อ ค.ศ. ๑๗๘๙ (พ.ศ. ๒๓๓๒) และได้มีการกล่าวยืนยันและเพิ่มเติมในบทน� ำของ รัฐธรรมนูญ ค.ศ. ๑๙๔๖ (พ.ศ. ๒๔๘๙)” ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๖๓ ได้มีกฎหมายออกมาอีกหนึ่งฉบับก� ำหนดว่า การ นัดหยุดงานที่มีผลกระทบต่อสาธารณะจ� ำเป็นต้องประกาศล่วงหน้า ๕ วัน ปรากฏว่าในเหตุการณ์จลาจล เดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๖๘ (พ.ศ. ๒๕๑๑) กลุ่มสหภาพแรงงานมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ โดยอ้าง ว่ากฎหมายดังกล่าวล้าสมัย เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อสถานการณ์เป็นต่อ กลุ่มสหภาพแรงงานจะปฏิเสธการ ประกาศนัดหยุดงานล่วงหน้า และในแง่สาธารณชนก็มิได้เคร่งครัดว่ากลุ่มสหภาพรงงานจักต้องด� ำเนินการ เช่นนั้นในทุกกรณี คงพึงพอใจว่าโดยหลักการแล้ว สหภาพแรงงานสมควรปฏิบัติตามข้อก� ำหนดในกฎหมาย ในการนัดหยุดงาน สหภาพแรงงานต่าง ๆ มีแนวคิดและแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป สหภาพเซเฌเตให้ความส� ำคัญกับการร่วมมือในการต่อสู้และความหมายของการนัดหยุดงานในเชิง สัญลักษณ์ สหภาพเซแอฟเดเตเน้นเรื่องการกระจายการด� ำเนินงานและหวังผลทางการเมือง อย่างไรก็ดี สหภาพทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่าการนัดหยุดงานเป็นสิ่งแสดงถึงเสรีภาพในการท� ำงาน ในการนัดหยุดงาน เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๖๘ (พ.ศ. ๒๕๑๑) สหภาพเซแอฟเดเตออกแผ่นปลิวเรียกร้องให้ผู้ใช้แรงงาน มีความสมัครสมานสามัคคีกัน และกล่าวว่าผลประโยชน์ที่ได้จากการต่อรองหลังการนัดหยุดงานจักต้องเป็น ผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานโดยส่วนรวม สหภาพแรงงานมีความเห็นตรงกันว่ากรณีนัดหยุดงานที่กระทบ ต่อสาธารณชนนั้นจ� ำเป็นต้องพิจารณาถึงปฏิกิริยาจากสาธารณชนด้วย เนื่องจากถ้าหยุดงานต่อเนื่องหลาย วัน สาธารณชนอาจมีความเห็นเป็นปฏิปักษ์ต่อสหภาพแรงงาน อันเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนาให้เกิดขึ้น การนัดหยุดงานของสหภาพแรงงานจ� ำเป็นต้องมีปัจจัยการเงินสนับสนุน สหภาพเซเฌเตและ แอฟโอ (F.O. : Force Ourière) ไม่เห็นด้วยที่จะตั้งกองทุนสนับสนุนการนัดหยุดงาน เพราะจะท� ำให้เงิน เข้ามามีบทบาทครอบง� ำหลักการของการนัดหยุดงาน ส่วนสหภาพเซแอฟเดเตได้จัดตั้งกองทุนสนับสนุน การนัดหยุดงานขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๖๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ซึ่งเก็บจากสมาชิกของสหภาพ นอกจากการนัดหยุดงาน สหภาพอาจใช้วิธีการเจรจากับนายจ้างและรัฐบาลเมื่อเกิดความขัด แย้ง โดยทั่วไปสหภาพจะใช้วิธีการเจรจาก่อนในขั้นแรกเพื่อแสวงหาข้อตกลงและเพื่อหลีกเลี่ยงการนัด หยุดงานซึ่งเป็นมาตรการรุนแรง สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเจรจา ได้แก่ เนื้อหาของการเจรจา ผู้ที่จะเข้าร่วม หรือไม่เข้าร่วมในการเจรจาจากทุกฝ่าย ระดับและขอบเขตของการเจรจา ในส่วนรัฐบาลจะมี “ผู้ตรวจการ แรงงาน” (inspecteurs du travail) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และประสานงานให้เกิด ความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหภาพกับผู้บริหารของฝ่ายนายจ้าง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=