สำนักราชบัณฑิตยสภา
ขบวนการกรรมกรและสหภาพแรงงานในฝรั่ งเศสจากอดี ตถึ งปัจจุบั น 144 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง รัฐบาล สหภาพใช้มาตรการหลักในการต่อสู้ ๒ แนวทาง คือ การนัดหยุดงาน และการเจรจา ทั้งนี้ แล้วแต่ความเหมาะของสถานการณ์ การนัดหยุดงาน มีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับปริบท แนวทาง และจุดประสงค์ของยุทธวิธีการต่อสู้ของสหภาพ เมื่อพิจารณาการ ด� ำเนินงานของสหภาพแรงงานตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๘๐ เป็นต้นมา จะพบว่าสหภาพแรงงานในฝรั่งเศสใช้มาตรการ นัดหยุดงานเมื่อความขัดแย้งอยู่ในระดับสูง และการเจรจาไม่ประสบผลส� ำเร็จตามประสงค์ การนัดหยุดงาน ของผู้ใช้แรงงานมีผลกระทบต่อเศรษฐกิของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ด้วยเหตุนี้ สหภาพจ� ำเป็นต้อง พิจารณาใช้มาตรการนัดหยุดงานอย่างรอบคอบ พยามยามก� ำหนดจ� ำนวนวันหยุดงานน้อยที่สุด เพราะ ยิ่งหยุดงานนานวัน เศรษฐกิจของประเทศชาติก็ได้รับความเสียหายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยหลักการ แล้ว สหภาพควรก� ำหนดใช้วิธีนัดหยุดงานเป็นสัญลักษณ์เตือนให้ตระหนักถึงความส� ำคัญของผู้ใช้แรงงาน เท่านั้น เมื่อศึกษาเปรียบเทียบจ� ำนวนวันนัดหยุดงานในประเทศฝรั่งเศสกับประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ แล้ว พบว่าระยะเวลาการนัดหยุดงานในประเทศฝรั่งเศสสั้นกว่า ( Reynaud , ๑๙๖๖ : ๖๕-๖๖) ในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๐-๑๙๖๐ (พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๐๓) จ� ำนวนวันนัดหยุดงานของสหภาพแรงงานใน ฝรั่งเศสโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๑-๖ วัน เมื่อพิจารณาขอบเขตของการนัดหยุดงาน พบว่าการขยายขอบเขต ของการนัดหยุดงานในฝรั่งเศสอยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาอิตาลี นอกจากนี้ ความพร้อมเพรียงในการนัดหยุดงานในสหรัฐอเมริกาเป็นไปอย่างดียิ่ง เมื่อเทียบกับผู้เข้าร่วม การนัดหยุดงานในฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในอัตราร้อยละ ๓๐-๕๐ ( Reynaud , ๑๙๖๖ : ๑๔๘) นับตั้งแต่การตรากฎหมายชาเปอลีเย ใน ค.ศ. ๑๗๙๑ (พ.ศ. ๒๓๓๔) มาจนถึง ค.ศ. ๑๘๖๔ (พ.ศ. ๒๔๐๗) ในรัชสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ การนัดหยุดงานเป็นสิ่งผิดกฎหมายฝรั่งเศส เมื่อกฎหมายที่ตรา ออกรับรองสิทธิการนัดหยุดงานในรัชสมัยของพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ มีผลบังคับใช้นั้น ปรากฏว่ามีข้อจ� ำกัด อยู่ ๒ ประการ กล่าวคือ ข้าราชการไม่มีสิทธินัดหยุดงาน และในทางกฎหมายให้ถือว่าการนัดหยุดงาน เป็นการสิ้นสุดสัญญาการท� ำงาน จึงเห็นได้ว่ากฎหมายนี้มิได้สนับสนุนสิทธิในการนัดหยุดงาน ต่อมาเมื่อมี การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. ๑๙๔๖ (พ.ศ. ๒๔๘๙) จึงก� ำหนดให้ข้าราชการมีสิทธิในการนัดหยุดงาน เช่นเดียวกับผู้ใช้แรงงานภาคอื่น ๆ ในบทน� ำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เขียนไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะท� ำงานและสิทธิในการรับจ้างท� ำงาน บุคคลจะต้องไม่ถูกละเมิดสิทธิใน การท� ำงานหรือรับจ้างท� ำงานด้วยสาเหตุเกี่ยวกับก� ำเนิด ทัศนคติ หรือความเชื่อส่วนตน บุคคลสามารถปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนโดยการเข้าร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงาน หรือเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ตนเลือกได้ สิทธิในการนัดหยุดงานให้เป็นไปตามขอบเขตของกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องดังกล่าว ผู้ใช้แรงงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่อง สภาพการท� ำงานและการด� ำเนินงานของ หน่วยงาน โดยผ่านทางผู้แทนแรงงานของตน”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=