สำนักราชบัณฑิตยสภา

141 จิ นตนา ด�ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ เนื่องจากสหภาพเซแอฟเตเซตั้งขึ้นตามหลักค� ำสอนของศาสนาคาทอลิกและตามสาส์นของ องค์สันตะปาปาเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๙๑ (พ.ศ. ๒๔๓๔) ในอันที่จะยอมรับการจัดตั้งองค์กรของ ผู้ใช้แรงงาน แนวการด� ำเนินงานของสหภาพจึงเป็นไปในทางประนีประนอมกับทุกฝ่าย และไม่เห็นด้วยกับ แนวคิดเรื่องการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ข้อบัญญัติข้อแรกของสหภาพระบุจุดประสงค์ที่จะพัฒนาบุคคลให้ได้ รับความเป็นธรรมในเรื่องปัจจัยด้านวัตถุ การศึกษา และศีลธรรม สภาพการผลิตในปัจจุบันซึ่งไม่สามารถ บรรลุจุดประสงค์ดังกล่าวได้ จ� ำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อน� ำไปสู่สภาพการใช้แรงงานที่ดีขึ้น และ การแบ่งปันผลผลิตที่มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ หลักการที่ส� ำคัญของสหภาพเซแอฟเตเซจึงมีอยู่ ๓ ประการ คือ ๑. การตั้งคณะกรรมการร่วม ๒. การมีส่วนถือหุ้นของผู้ใช้แรงงาน ๓. การมีส่วนในผลก� ำไรร่วมกัน สหภาพเซแอฟเตเซถือว่าการนัดหยุดงานเป็นมาตรการหนึ่งในการต่อสู้ แต่ไม่เห็นด้วยกับการ นัดหยุดงานทั่วไป (grève générale) จากเซแอฟเตเซ (C.F.T.C.) สู่เซแอฟเดเต (C.F.D.T.) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหภาพแรงงานของฝรั่งเศสมีการท� ำงานร่วมกันอย่างเป็นน�้ ำหนึ่งใจ เดียวกันเพื่ออิสรภาพของประเทศฝรั่งเศส ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๔๐ (พ.ศ. ๒๔๘๓) คณะกรรมการ ศึกษาด้านเศรษฐกิจและสหภาพแรงงานได้ออกปฏิญญาประกาศต่อต้านรัฐบาลวีชี (Vichy) และเสนอ หลักการร่วมของสหภาพ ได้แก่ การต่อต้านระบอบทุนนิยม การยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ส่วนตน กล่าวคือ การวางระบอบเศรษฐกิจที่เน้นประโยชน์ของสังคมส่วนรวม การมีบทบาทของสหภาพ ในรัฐบาล การเคารพสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่แบ่งแยกผิว ศาสนา และความคิดเห็น เสรีภาพของสหภาพ และการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพ ความร่วมมือกับแรงงานสากล ใน ค.ศ. ๑๙๓๘ (พ.ศ. ๒๔๘๑) ปอล วีโญ (Paul Vignaux) ได้เสนอความคิดแนวใหม่ไว้ในรายงาน ของสถาบันการศึกษาและอบรมของสหภาพเซแอฟเตเซว่าเมื่อมีการจัดตั้งองค์กรพิทักษ์ผลประโยชน์ของ กลุ่มอาชีพขึ้นมาแล้ว สมควรที่จะมีองค์กรกลางขึ้นมาดูแลเรื่องแรงงานอย่างถาวร เพื่อป้องกันมิให้กลุ่ม อาชีพมุ่งประโยชน์ส่วนกลุ่มจนเกินไป และเพื่อป้องกันเหตุการณ์วุ่นวายจลาจลอันอาจเกิดขึ้นได้ ปอล วีโญเสนอว่า รัฐบาลเหมาะสมที่จะรับหน้าที่องค์กรกลางนี้โดยที่สมควรเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย ซึ่งโดย แนวคิดของรัฐบาลประชาธิปไตยย่อมสนับสนุนความเป็นอิสระของสหภาพแรงงาน ต่อมาในการประชุม วาระพิเศษของสหภาพเซแอฟเตเซเมื่อวันที่ ๖-๗ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๖๔ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ที่ประชุม จึงมีมติให้เปลี่ยนชื่อสหภาพเป็นเซแอฟเดเต (C.F.D.T. : Confédération française démocratique du

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=