สำนักราชบัณฑิตยสภา

139 จิ นตนา ด�ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ควบคู่ไปกับมาตรการด้านเศรษฐกิจ สหภาพแรงงานในฝรั่งเศส อาจแยกออกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ ๑. กลุ่มพวกหัวรุนแรงและปฏิวัติ ๒. กลุ่มนิยมมากซ์ แกด และเลนิน (Lenin) ๓. กลุ่มปฏิรูป ๔. กลุ่มคริสเตียน การก่อตั้งสหภาพเซเฌเต (C.G.T. : Confédération générale du travail) สหภาพแรงงานที่มีแนวความคิดรุนแรงหรือแนวปฏิวัติ (anarcho-syndicalisme หรือ s yndicalisme révolutionnaire) มีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวด้านสหภาพแรงงานในฝรั่งเศสอย่างลึกซึ้ง และกว้างขวาง แนวความคิดดังกล่าวแพร่ขยายไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษด้วย เมื่อสหภาพเซเฌเต (Confédération générale du travail) ได้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๙๕ (พ.ศ. ๒๔๓๘) นั้น ฐานของสหภาพแรงงานในฝรั่งเศสอยู่ในสภาพที่แข็งแกร่งแล้ว ในช่วงทศวรรษแรก หลังการก่อตั้ง สหภาพเซเฌเตมิได้มีผลงานโดดเด่นแต่อย่างใด ใน ค.ศ. ๑๙๐๖ (พ.ศ. ๒๔๔๙) สหภาพ ได้เสนอปฏิญญาแห่งอาเมียง (Charte d’Amiens) โดยเน้นการประสานระหว่างกิจกรรมในอาชีพและ แนวความคิดปฏิวัติ กล่าวคือ ลูกจ้างอาจใช้แรงกดดันเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนในเรื่องเงินเดือน ชั่วโมงท� ำงาน และสภาพการท� ำงาน และในขณะเดียวกันลูกจ้างต้องรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นเพื่อให้ เกิดผลทางการต่อสู้ ลูกจ้างย่อมมีสิทธิในผลผลิตของโรงงานเนื่องจากเป็นผู้ท� ำการผลิต รัฐไม่มีอ� ำนาจเข้า มาแทรกแซงในกิจการได้ อย่างไรก็ตาม สหภาพเซเฌเตในช่วงก่อน ค.ศ. ๑๙๑๔ (พ.ศ. ๒๔๕๗) นั้น ขาด ระเบียบวินัยในการด� ำเนินงานจึงไม่เฟื่องฟูมากนัก การบริหารงานจ� ำกัดอยู่ในคนกลุ่มน้อย และไม่พยายาม ดึงให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วม สหภาพได้สร้างผู้น� ำกรรมกรขึ้นมาจ� ำนวนหนึ่งซึ่งมีความรับผิดชอบและความ เสียสละ แต่ไม่ได้สร้างองค์กรที่มีความแข็งแกร่ง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลง สหภาพเซเฌเตอยู่ในสภาพที่แตกแยกกันมากทั้งด้าน อุดมการณ์ แนวคิดเกี่ยวกับการด� ำเนินงานของสหภาพ ตลอดจนการก� ำหนดเป้าหมาย สมาชิกสหภาพ ส่วนหนึ่งหันไปฝักใฝ่แนวคิดปฏิวัติในสหภาพรัสเซีย ส่วนผู้บริหารสหภาพก็มักถูกกล่าวหาว่าทรยศต่อ อุดมการณ์ หลังการประชุมสามัญของสหภาพในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๒๑ (พ.ศ. ๒๔๖๔) สมาชิกส่วน หนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อยจึงแยกตัวออกมาตั้งเป็นสหภาพเซเฌเตอูว์ (C.G.T.U. : Confédération générale du travail unitaire) ซึ่งมีแนวคิดโน้มเอียงไปทางอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ผู้น� ำของเซเฌเตอูว์ คือ เบอนัว ฟราชง (Benoît Frachon) สหภาพเซเฌเตอูว์ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานสากลแดง ( Internationale syndicale rouge) ใน ค.ศ. ๑๙๒๓ (พ.ศ. ๒๔๖๖) สมาชิกจะอยู่ในเขตปารีส ลียง (Lyon) และมาร์แซย์ (Marseilles)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=