สำนักราชบัณฑิตยสภา
ขบวนการกรรมกรและสหภาพแรงงานในฝรั่ งเศสจากอดี ตถึ งปัจจุบั น 138 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ช่วงหลังยุคคอมมูนในฝรั่งเศส (มีนาคม-พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๗๑/พ.ศ. ๒๔๑๔) องค์กรของผู้ใช้ แรงงานอยู่ในสภาวะระส�่ ำระสายและถูกปราบปรามจนเกือบสิ้นร่องรอย เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๗๒ (พ.ศ. ๒๔๑๕) รัฐสภาฝรั่งเศสออกกฎหมายลงโทษนานัปการต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงานสากล เช่น การปรับ การจ� ำคุก การเพิกถอนสิทธิต่าง ๆ การภาคทัณฑ์ เป้าหมายหลักของการออกกฎหมายครั้งนี้ได้แก่ การขัดขวางสมัยประชุมสหภาพแรงงานสากลครั้งที่ ๑ โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องชนชั้นกรรมาชีพมิให้หลงผิด เข้าร่วมการนัดหยุดงานอันอาจน� ำไปสู่การซ่องสุมซึ่งเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยภายในชาติ ความเข้มงวดและความรุนแรงในการปราบปรามจากรัฐบาลหาได้ท� ำให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานย่อท้อไม่ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๗๒ (พ.ศ. ๒๔๑๕) สมาคมผู้ใช้แรงงานจ� ำนวน ๒๓ สมาคม ได้พยายามรวม ตัวก่อตั้งสหภาพผู้ใช้แรงงาน (Union syndicale ouvrière) ขึ้น แต่ไม่ประสบผลส� ำเร็จ ทั้ง ๆ ที่สหภาพที่ จะก่อตั้งขึ้นนี้มีจุดประสงค์เกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ การฟื้นฟูด้านวัตถุและจิตใจของคนงาน โดยไม่มีเรื่อง การเมืองก็ตาม ใน ค.ศ. ๑๘๗๓ (พ.ศ. ๒๔๑๖) รัฐสภาปฏิเสธค� ำขอร้องจากตอแล็ง (Tolain) ที่จะส่งคณะ ผู้ใช้แรงงานไปร่วมงานนิทรรศการสากล (Exposition universelle) ณ กรุงเวียนนา ในปีถัดมาสหภาพผู้ใช้ แรงงานในอุตสาหกรรมเหล็กถูกสั่งยุบ ในตอนต้นสาธารณรัฐที่ ๓ กรรมกรที่ยังมีความหวาดกลัวที่จะรื้อฟื้นสหภาพแรงงานขึ้นมา อีก ปัญหากรรมกรมิได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ( Ibid : ๑๓) จนกระทั่ง ค.ศ. ๑๘๗๘ (พ.ศ. ๒๔๒๑) จึง ปรากฏผู้น� ำกรรมกรที่เข้มแข็งคือ ฌูล แกด (Jules Guesde) แกดพยายามสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างความ เคลื่อนไหวของกรรมกรและพวกสังคมนิยมให้เข้มแข็งและเหนียวแน่น แต่ทว่าเมื่อเกิดความแตกแยกใน พรรคสังคมนิยม องค์กรของผู้ใช้แรงงานก็พลอยแตกแยกไปด้วยเช่นกัน บุคคลส� ำคัญอีกผู้หนึ่งในประวัติศาสตร์แรงงานของฝรั่งเศส ได้แก่ พรูดง (Proudhon) เมื่อเริ่มยุค การปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศฝรั่งเศส พรูดงได้หยิบยกปัญหาทางสภาพสังคมของผู้ใช้แรงงานขึ้นมา อภิปราย เขาเชื่อว่าการให้เสรีภาพต่อผู้ใช้แรงงานจะไม่ท� ำให้ระบอบทุนนิยมล่มสลาย พรูดงกล่าวว่าการ เปลี่ยนแปลงผู้ปกครองทางการเมืองไม่สามารถเปลี่ยนสภาพความยากไร้ของผู้ใช้แรงงานได้ การเมืองต้อง สัมพันธ์กับสังคมและเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้พรูดงจึงเน้นเรื่องการรวมตัว และการประกันสังคมรูปแบบต่าง ๆ เช่น การให้เงินช่วยเหลือหรือเงินกู้ การให้การศึกษา การประกันการมีงานท� ำ การประกันคุณภาพและ ราคาสินค้าที่ยุติธรรม การให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ฯลฯ ทั้งนี้ผู้ใช้แรงงานจ� ำเป็นต้องรับภาระ จ่ายค่าประกันสังคมส่วนหนึ่งด้วย นอกจากนี้ พรูดงไม่เห็นด้วยกับการนัดหยุดงาน มากซ์ (Marx) ได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์แนวคิดของพรูดงที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการนัดหยุดงาน มากซ์ เห็นว่าการนัดหยุดงานเป็นอาวุธอันพิเศษเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน มากซ์อธิบายว่าในสนามการต่อสู้ทางเศรษฐกิจ ผู้ใช้แรงงานไม่สามารถใช้เพียงมาตรการป้องกัน หากแต่ ต้องมีมาตรการเชิงรุกอีกด้วย นอกจากนี้ มากซ์ยังเสนอว่าสหภาพแรงงานจ� ำเป็นต้องด� ำเนินทางการเมือง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=