สำนักราชบัณฑิตยสภา

137 จิ นตนา ด�ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ท� ำงานเพื่อรับใช้ประเทศชาติ หลักการนี้มีส่วนผลักดันและจูงใจให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่ต่อมาหลัง จากปฏิวัติ บรรดาผู้แทนราษฎรจึงได้หันไปให้ความส� ำคัญกับบทบาทการปกป้องผลประโยชน์ของท้องถิ่น ซึ่งตนเป็นผู้แทนด้วย อย่างไรก็ตาม ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ องค์กรอันเป็นตัวแทนพิทักษ์ผลประโยชน์ ของกลุ่มอาชีพในฝรั่งเศส กลับได้รับการกีดกันและกดดันอย่างสม�่ ำเสมอ เนื่องจากรัฐบาลเกรงการก่อความ วุ่นวายจากเหล่ากรรมกร ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมเป็นอุปสรรคที่ส� ำคัญกว่าแนวปรัชญาของรูโซ เมื่อเริ่มต้นคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๙ เกิดความคิดที่แพร่หลายในประเทศฝรั่งเศสว่าระบบเศรษฐกิจที่ดีที่สุด ได้แก่ ระบบที่ให้ เสรีภาพแก่บุคคลอย่างสมบูรณ์ในการเลือกประกอบกิจกรรมและท� ำสัญญา ซึ่งเกี่ยวข้องกับเสรีภาพใน การท� ำงานโดยตรง กฎหมายชาเปอ ลีเย (Chapelier) ซึ่งออกบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๗๙๑ (พ.ศ. ๒๓๓๔) ก� ำหนดว่า กลุ่มบุคคลในทุกสาขาอาชีพห้ามก่อตั้งสหภาพ ห้ามแต่งตั้งประธานหรือเลขาธิการ สหภาพ ห้ามออกกฎระเบียบใด ๆ โดยอ้างว่าเพื่อจุดประสงค์ในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของกลุ่มอาชีพตน ในแง่ปฏิบัติปรากฏว่ากฎหมายชาเปอลีเยใช้บังคับต่อลูกจ้างอย่างเข้มงวดมากกว่าใช้บังคับต่อนายจ้าง ตัวอย่างเช่น ยังคงมีสมาคมการค้า (chambres de commerce) อยู่หลายแห่งซึ่งเป็นสมาคมของพวกนายจ้าง แท้ที่จริงแล้วแนวความคิดเรื่องเสรีภาพในการประกอบอาชีพนั้นเป็นเพียงแค่อุดมคติ ถ้าพิจารณาความ สัมพันธ์และอ� ำนาจต่อรองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างแล้ว จะเห็นว่านายจ้างที่สูญเสียลูกจ้างจะเสียรายได้ ของตนไปเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และเป็นรายได้เพียงส่วนหนึ่ง แต่ลูกจ้างที่ตกงานจะสูญเสียราย ได้ทั้งหมดซึ่งเป็นค่ายังชีพของตนและครอบครัว ด้วยเหตุ นี้เจ้าของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับกรรมกร จึงมีอ� ำนาจการต่อรองที่แตกต่างกันมาก ถึงแม้ว่าโดยหลักการจะมีเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมเสมอ ภาคกันก็ตาม ข้อเท็จจริงดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าพื้นฐานปัญหาเรื่องสหภาพเป็นประเด็นปัญหาของกรรมกร ( Reynaud, ๑๙๖๖: ๑๐) อย่างไรก็ดี การละเมิดกฎหมายชาเปอลีเยมีอยู่ค่อนข้างกว้างขวาง มีการรวมตัวของกลุ่มอาชีพ ต่าง ๆ อย่างไม่เป็นทางการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือกันในเรื่องที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพทั้งฝ่าย นายจ้างและลูกจ้าง ใน ค.ศ. ๑๘๖๔ (พ.ศ. ๒๔๐๗) รัฐบาลฝรั่งเศสจึงออกกฎหมายอีกหนึ่งฉบับเพื่อปราบ ปรามการรวมตัวดังกล่าวของกลุ่มอาชีพ กรรมกรเป็นกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายปราบปราม อย่างรุนแรง ในขณะที่รัฐบาลถือว่าเป็นชัยชนะของตน ดังจะเห็นได้จากค� ำแถลงของประธานาธิบดี ตีแย (Thiers) ต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๗๑ (พ.ศ. ๒๔๑๔) ว่า “เราได้บรรลุจุดประสงค์ของเราแล้ว บัดนี้ความมีกฎระเบียบ ความยุติธรรมและความเป็นอารยะ ได้ประสบชัยชนะ” นอกจากนี้ประธานาธิบดีตีแยยังได้ส่งโทรเลขไปยังผู้ปกครองแคว้นต่าง ๆ ของฝรั่งเศสว่า “ศพเกลื่อนพื้นดินที่ดูน่ากลัวนี้นับเป็นบทเรียนอันดีต่อผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย” ( Dolléans , ๑๙๖๗: ๑๐)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=