สำนักราชบัณฑิตยสภา

ขบวนการกรรมกรและสหภาพแรงงานในฝรั่ งเศสจากอดี ตถึ งปัจจุบั น 136 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 อุตสาหกรรมมีสภาพการท� ำงานที่ท� ำลายความเป็นคน เนื่องจากคนงานต้องท� ำงานซ�้ ำซากประดุจเครื่องจักร ตลอดทั้งวัน โมรีซ อัลวัก (Maurice Halbwachs) ได้ท� ำการศึกษาปฏิกิริยาของกรรมกรในการท� ำงานได้ ข้อสรุปว่า การที่กรรมกรต้องเผชิญหน้าอยู่กับเครื่องจักรเป็นเวลานานท� ำให้เขาต้องสูญเสียความเป็นคน ของตนลงไปส่วนหนึ่ง ( Lefranc , ๑๙๗๒ : ๓๓) ซีมอน แว (Simone Weil) อดีตรัฐมนตรีหญิงของฝรั่งเศส เล่าถึงประสบการณ์ของเธอที่เคยท� ำงานในโรงงานอุตสาหกรรมว่า เธอรู้สึกอ้างว้างอย่างรุนแรงเมื่อเธอ ต้องท� ำงานอยู่หน้าเครื่องจักรเป็นเวลานาน เธอกล่าวว่าสภาพการท� ำงานแบบนี้เป็น “สภาพความเป็นทาส ที่แม้แต่ความยุติธรรมที่สมบูรณ์แบบที่สุดก็ไม่สามารถลบล้างไปได้” ใน ค.ศ. ๑๙๔๗ (พ.ศ. ๒๔๙๐) แบร์นานอส (Bernanos) ตีพิมพ์หนังสือชื่อ La France contre les robots ชักชวนให้ตระหนักถึงภัยของ เครื่องจักรยนต์ซึ่งเปรียบเสมือนหุ่นยนต์ เขาวิจารณ์ว่าเครื่องจักรเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดคุ้มทุน ประสิทธิภาพ และผลก� ำไร ซึ่งล้วนแต่ท� ำลายศักดิ์ศรีของความเป็นคนทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม สังคมแห่งการบริโภคปัจจุบันนี้แสดงให้เห็นชัยชนะของเครื่องจักรเครื่องยนต์โดย สิ้นเชิง ความบันเทิงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ รถยนต์ ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่อง ของเครื่องยนต์กลไกทั้งนั้น สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในการผลิต การขยายตลาด การคมนาคม สื่อสาร ทุกวงจรของชีวิตมนุษย์ตัดไม่ขาดจากเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ทางจักรกล ในสภาพอารยธรรม สมัยใหม่เช่นนี้ สหภาพแรงงานจ� ำต้องมีบทบาทที่จะรักษาดุลยภาพระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรกล การก่อตั้งสหภาพแรงงานในประเทศฝรั่งเศส การก่อตั้งสหภาพแรงงานในประเทศฝรั่งเศสต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และกฎหมาย “สหภาพ” เป็นองค์กรซึ่งกลุ่มบุคคลมารวมตัวกันเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลที่มี อาชีพเดียวกัน ย่อมมีจุดประสงค์เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกลุ่มอาชีพตน ในคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๘ ในประเทศฝรั่งเศสมีส� ำนักงานสหภาพ (chambre syndicale) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของสหกรณ์ ส่วน สหภาพแรงงานของกรรมกรนั้นเกิดขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๓๙ (พ.ศ. ๒๓๘๒) เมื่อประเทศฝรั่งเศสเร่งรัดพัฒนา อุตสาหกรรมและเป็นช่วงเวลาที่แรงงานในฝรั่งเศสตกอยู่ในสภาพที่ยากแค้นเป็นอย่างมาก เป็นที่น่าสังเกต ว่าการก่อตั้งสหภาพแรงงานในทุกประเทศที่มีเป้าหมายจะพัฒนาอุตสาหกรรมนั้นเป็นไปด้วยความยาก ล� ำบาก รัฐบาลมักมีข้ออ้างว่าสหภาพแรงงานเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักการของประเทศที่ปกครองระบอบ เสรีนิยมซึ่งจ� ำเป็นต้องให้หลักประกันต่อเสรีภาพส่วนบุคคลในทางการเมืองและเศรษฐกิจ เสรีภาพส่วนบุคคลทางการเมืองเป็นหลักการตามปรัชญาของฌ็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau) ตามแนวคิดดังกล่าว องค์กรกลางระหว่างรัฐบาลกับราษฎรไม่เป็นที่ยอมรับ เช่นเดียวกับหลัก การที่ว่าผู้แทนซึ่งราษฎรเลือกตั้งมามิได้ท� ำงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของราษฎรแต่อย่างใด หากแต่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=