สำนักราชบัณฑิตยสภา
135 จิ นตนา ด�ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ เมื่อมีการปฏิรูปศาสนาคริสต์ ลูเธอร์ (Luther) กาลแว็ง (Calvin) ได้แสดงความเห็นที่ให้คุณค่าแก่แรงงาน มากขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ นักปราชญ์และนักเขียนมีทัศนคติที่ดีต่อแรงงาน ในวรรณกรรมเรื่อง Candide วอลแตร์ (Voltaire) กล่าวไว้ในบทที่ ๓๐ ว่า “การท� ำงานท� ำให้เราหลุดพ้นจากสิ่งเลวร้าย ๓ ประการ อันได้แก่ ความเบื่อ ความชั่ว และความยากจน” รูโซ (Rousseau) เสนอความคิดว่ามนุษย์จ� ำเป็นต้องท� ำงาน การท� ำงานถือเป็นหน้าที่ของมนุษย์ รูโซวิเคราะห์ว่าช่างฝีมือมีความเป็นอิสระมากกว่าชาวนา เพราะชาวนาตกอยู่ในสภาพเป็นทาสที่ดิน จะ เห็นว่าทัศนคติต่อแรงงานพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นตามล� ำดับ ตราบจนขึ้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ แรงงานได้ รับการยกย่องว่ามีความส� ำคัญเป็นอย่างยิ่ง ใน ค.ศ. ๑๘๑๘ (พ.ศ. ๒๓๖๑) อาแล็กซ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด (Alexandre de Laborde) เขียนไว้ในหนังสือ De l’esprit d’association dans tous les intérêts de la communauté ว่า “แรงงานเป็นผู้สร้างทรัพย์สมบัติและความมั่งคั่งทั้งปวง” และ “เป็นแหล่งก� ำเนิดของ อุตสาหกรรม” ในช่วงทศวรรษ ๑๘๔๐ (ประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๓๙๓) ความคิดแนวสังคมนิยมที่แพร่หลายใน หมู่ผู้ใช้แรงงานได้แก่ ความจ� ำเป็นในการท� ำงาน สิทธิในการท� ำงาน สิทธิประโยชน์จากแรงงาน สิทธิที่จะมีสภาพการท� ำงานอันพึงปรารถนา การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดกรรมกรผู้ใช้แรงงาน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีท� ำให้กรรมกร ต้องปฏิบัติงานกับเครื่องจักรเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ ในอดีตผู้ใช้แรงงานมีความรู้สึกกังวลและไม่พึงพอใจ กับเครื่องจักรเครื่องยนต์ในโรงงาน เนื่องจากเห็นว่าสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคต่อสภาวะการมี งานท� ำ และท� ำให้พวกเขาต้องปรับสภาพการท� ำงานให้เข้ากับเครื่องจักรยนต์ต่าง ๆ ด้วย หลังการปฏิวัติ ฝรั่งเศสใน ค.ศ. ๑๗๘๙ (พ.ศ. ๒๓๓๒) เกิดเหตุการณ์ต่อต้านการใช้เครื่องจักรยนต์ในโรงงานอยู่บ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่นในขณะที่มีการบุกยึดคุกบัสตีย์ที่ปารีส ก็เกิดการบุกท� ำลายเครื่องจักรทอผ้าที่เมืองรวง (Rouen) ในประเทศอังกฤษกรรมกรถือปืนบุกเข้าเผาท� ำลายเครื่องจักรตามโรงงานอุตสาหกรรม ประเด็นที่น่าสังเกต คือ ความเป็นปฏิปักษ์ต่อเครื่องจักรอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ของสังคม มิได้จ� ำกัดอยู่เฉพาะ กับชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้น การสร้างทางรถไฟในฝรั่งเศสก็ได้รับการต่อต้านท� ำลายอย่างรุนแรง ใน ค.ศ. ๑๘๔๘ (พ.ศ. ๒๓๙๑) เส้นทางรถไฟระหว่างปารีสกับเมืองรวงถูกบุกรุกท� ำลาย ฟูรีเย (Fourier) นักปรัชญาและนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า คนงานในโรงงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=