สำนักราชบัณฑิตยสภา

ขบวนการกรรมกรและสหภาพแรงงานในฝรั่ งเศสจากอดี ตถึ งปัจจุบั น 134 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 บทน� ำ กรรมกรหรือผู้ใช้แรงงาน เป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทส� ำคัญทางเศรษฐกิจระดับชาติในฐานะผู้ผลิต การก่อตั้งสหภาพแรงงานมีความยุ่งยากซับซ้อน ระหว่างปี ค.ศ. ๑๘๗๑ ถึง ค.ศ. ๑๙๓๖ (พ.ศ. ๒๔๑๔- ๒๔๗๙) เป็นช่วงเวลาที่การต่อสู้และการรวมตัวกันของกรรมกรฝรั่งเศส ประสบทั้งความส� ำเร็จและความล้ม เหลว ผู้ใช้แรงงานในแต่ละประเทศต่างด� ำเนินการและต่อสู้อย่างเป็นเอกเทศ ขาดการประสานงานและการ ผนึกก� ำลัง ซึ่งท� ำให้องค์กรสหภาพแรงงานสากลอยู่ในสภาพอ่อนแอ ตราบจนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้ง ที่ ๒ ความเคลื่อนไหวของผู้ใช้แรงงานจึงเริ่มมีแนวโน้มเป็นกลุ่มก้อนมากยิ่งขึ้น อ� ำนาจเผด็จการฟาสซิสต์ ในช่วงสงครามได้เป็นปฏิปักษ์ปราบปรามผู้ใช้แรงงานอย่างรุนแรง และก่อให้เกิดแนวคิดแบบสังคมนิยม เรื่องการต่อสู้ทางชนชั้นในเวลาต่อมา การต่อสู้ของสหภาพแรงงานมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การปฏิวัติสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่จะประสบความส� ำเร็จยากยิ่งนัก แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้น� ำกรรมกรซึ่งเป็นแกนหลักในการ ต่อสู้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกทั้งมวล ทั้งความสุขและความหวังของเหล่าผู้ใช้แรงงานได้เป็นอย่างดี เหตุการณ์เหล่านี้นับเป็นประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งที่ส� ำคัญของมนุษยชาติ ความเป็นมาของแรงงาน ประวัติศาสตร์เรื่องแรงงานเป็นเรื่องของความขมขื่น ความทุกข์ยาก และการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรี และสิทธิ เมื่อสืบค้นลึกลงไปในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็จะพบว่าเรื่องของแรงงานมิได้รับการยกย่อง เชิดชูแต่ประการใด ซิเซโร (Cicero) เคยกล่าวว่า “แรงงาน” เป็น “กิจกรรมหรืองานที่หนัก” ในภาษา เยอรมันโบราณนิยามค� ำ “แรงงาน” ว่าหมายถึง ความทุกข์ยาก ความโศกเศร้า ในภาษาสลาฟค� ำว่า “แรงงาน” มีความหมายว่า “ทาส” ส่วนในภาษาฝรั่งเศสสมัยกลางและคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ มีความหมายว่า “ที่ตั้งศพ” จะเห็นว่ารากศัพท์ค� ำว่า “แรงงาน” มิได้ให้ความหมายที่น่ารื่นรมย์ใจ นอกจากนี้ถ้าค้นดูใน เทพนิยายโบราณของกรีกละตินจะพบว่าไม่มีเทพเจ้าแห่งแรงงานสถิตอยู่ ณ ที่ใดเลย นักปราชญ์สมัยโบราณแสดงถึงทัศนคติด้านลบต่อแรงงาน เนื่องจากมีโลกทัศน์เจ้ายศเจ้าอย่าง แบบขุนนาง นักปราชญ์ชาวกรีกสมัยโบราณเน้นความส� ำคัญของสมาธิ ความรู้ที่เป็นอิสระและไม่เห็น แก่ประโยชน์ส่วนตน พวกเขาคิดว่าการงานเป็นสิ่งที่ท� ำให้เหน็ดเหนื่อยและท� ำให้มนุษย์มีจิตใจมุ่งเอารัด เอาเปรียบและแข่งขันกัน ซึ่งอันที่จริงแล้วมนุษย์ควรที่จะอุทิศตนต่อบ้านเมืองและมิตรสหายมากกว่า ทัศนคติด้านลบต่อแรงงานมิได้มีอยู่เฉพาะในหมู่นักปราชญ์เท่านั้น ในหมู่อนารยชนเผ่าต่าง ๆ สมัยโบราณ ก็มีทัศนคติดูหมิ่นแรงงานเช่นเดียวกัน พวกอนารยชนเหล่านี้พิจารณาว่าบรรดาช่างและบุตรเป็นประชากร ชั้นต�่ ำ ( Lefranc , ๑๙๗๒ : ๑๔) ในยุคกลาง ปรากฏว่าแรงงานชาวนาซึ่งเคยมีอิสรภาพก่อนหน้านั้นถูกชนชั้นขุนนางลิดรอน ความเป็นอิสระจนหมดสิ้น ชาวนายุคกลางกลับตกเป็นทาสทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ต่อมา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=