สำนักราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ขบวนการกรรมกรและสหภาพแรงงานในฝรั่งเศส จากอดีตถึงปัจจุบัน * จินตนา ด� ำรงค์เลิศ ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ ตั้งแต่สมัยโบราณ สังคมมีทัศนคติดูหมิ่นแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๘ วอลแตร์ (Voltaire) ได้เขียนไว้ใน Candide ว่าการท� ำงานท� ำให้มนุษย์หลุดพ้นจากความเบื่อ ความชั่ว และความยากจน ส่วนรูโซ (Rousseau) กล่าวว่าการท� ำงานเป็นหน้าที่ของมนุษย์ ต่อมาใน คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ อาแล็กซ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด (Alexandre de Laborde) เขียนไว้ในหนังสือของ เขาว่าแรงงานเป็นผู้สร้างทรัพย์สมบัติและความมั่งคั่ง ตลอดจนเป็นแหล่งก� ำเนิดของอุตสาหกรรม การก่อตั้งสหภาพแรงงานของกรรมกรในประเทศฝรั่งเศสเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๘๓๙ (พ.ศ. ๒๓๘๒) ในรูปของการรวมกลุ่มของสหกรณ์โดยยังคงมีกฎหมายห้ามการรวมกลุ่มทางอาชีพ ใน ค.ศ. ๑๘๗๑ (พ.ศ. ๒๔๑๔) รัฐบาลฝรั่งเศสได้ด� ำเนินการปราบปรามการรวมตัวของกลุ่มอาชีพอย่างรุนแรง จนกระทั่งใน ค.ศ. ๑๘๙๕ (พ.ศ. ๒๔๓๘) จึงมีการตั้งสหภาพแรงงานเซเฌเต (C.G.T. : Confédéra- tion générale du travail) ขึ้น สหภาพแรงงานอื่น ๆ ที่ส� ำคัญ เช่น เซเอฟเดเต (C.F.D.T. : Con- fédération francaise démocratique du travail) และแอฟโอ (Force ouvrière) สหภาพแรงงาน ของประเทศฝรั่งเศสได้รับการศึกษาจากรัฐในรูปของการศึกษาและการอบรม แต่ละสหภาพมีสิ่งตี พิมพ์ของสหภาพเอง เช่น นิตยสารรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน จุลสาร หนังสือพิมพ์ ตลอดจน แผ่นปลิว ส่วนรูปแบบการต่อสู้ของสหภาพแรงงานที่ส� ำคัญมี ๒ แนวทาง ได้แก่ การนัดหยุดงาน และการเจรจา ค� ำส� ำคัญ : สหภาพแรงงานฝรั่งเศส, กรรมกรฝรั่งเศส * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันอังคารที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=