สำนักราชบัณฑิตยสภา
131 ประคอง นิ มมานเหมิ นท์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ในบทความเรื่องเดียวกันนี้มีข้อความที่แสดงให้เห็นแนวพระด� ำริเกี่ยวกับค� ำที่จะบรรจุลงใน พจนานุกรมว่า น่าจะเป็นค� ำที่ใช้แพร่หลายแล้ว โดยเฉพาะศัพท์ที่ทรงเป็นผู้บัญญัติขึ้น ดังความต่อไปนี้ อันที่จริงตามทางที่ควรนั้น ศัพท์ต่างๆ ย่อมตั้งขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ และเมื่อน� ำออกใช้โดยแพร่ หลายแล้วจึงจะน� ำใช้ในกฎหมาย ในนานาประเทศรัฐบาลหรือรัฐสภาหาได้เป็นผู้คิดศัพท์ไม่ แต่ที่เกี่ยวกับ ศัพท์การเมืองในเมืองไทยนั้น บังเอิญวิชาการเมืองยังไม่ได้รับการบ� ำรุงเท่าใดนัก เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดการ เปลี่ยนแปลงระเบียบการปกครองขึ้น จึงรู้สึกอัตคัดอยู่สักหน่อยในเรื่องศัพท์การเมือง ข้าพเจ้าได้เรียนวิชา แผนกนี้มาบ้าง ข้าพเจ้าจึงได้น� ำศัพท์บางค� ำออกใช้ แต่ถ้ามีกรรมการพิจารณา เช่นกรรมการบัญญัติศัพท์ วิทยาศาสตร์ ฉะนั้นแล้วก็ยิ่งดี แต่ค� ำที่คิดขึ้นเหล่านี้จะเป็นค� ำที่ติดแล้วหรือไม่นั้น ย่อมเป็นหน้าที่ของ กรรมการช� ำระปทานุกรมจะวินิจฉัย ข้าพเจ้าบังเอิญมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกรรมการทั้ง ๒ คณะที่กล่าวมาแล้ว นั้น แต่หน้าที่แต่ละฝ่ายต่างกันอย่างไร ข้าพเจ้าเป็นผู้ขอให้ท� ำความตกลงไว้อย่างชัดแจ้งแต่ต้นมา เพราะ ฉะนั้นอาจมีศัพท์หลายศัพท์ที่ข้าพเจ้าได้คิดขึ้น แต่เมื่อยังมิได้ใช้กันแพร่หลาย ข้าพเจ้าก็ยังไม่ขอให้บรรจุ ในพจนานุกรม ภาษาศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง ฉะนั้นนักภาษาศาสตร์จะต้องปราศจากอุปาทาน และทิฐิมานะทั้งปวง (เรื่องเดียวกัน หน้า ๑๗๙)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=