สำนักราชบัณฑิตยสภา

การเขี ยนค� ำภาษาอั งกฤษในพระราชนิ พนธ์ไกลบ้าน 130 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 แล้ว จึงเสนอให้ส� ำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามในประกาศ (โปรดดูรายละเอียดใน ราชบัณฑิตยสถาน, ความรู้ทางอักษรศาสตร์ ๒๕๐๘ หน้า ๒๒๑-๒๖๘ และประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๒๘ วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘) เหตุที่การเขียนค� ำที่มาจากภาษาอังกฤษไม่เป็นปัญหาส� ำหรับคนไทยทั่วไปในเวลาต่อ ๆ มามาก นัก น่าจะเป็นเพราะครูที่สอนภาษาไทยมักจะเน้นให้เห็นว่าเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องเขียนตามการออกเสียงของ คนไทย ในสมัยที่ผู้เขียนเรียนชั้นมัธยมศึกษาเคยได้รับค� ำอธิบายจากครูว่า การเขียนค� ำภาษาอังกฤษนั้นไม่ ควรใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ โดยให้เหตุผลว่า ท� ำให้ “ดูรกหูรกตา” อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่ เสนอไว้ข้างต้น การที่เจ้านายและผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อนไม่นิยมใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์กับค� ำที่มาจาก ภาษาอังกฤษนั้น น่าจะมาจากเหตุผลดังที่พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ประทาน แก่ที่ประชุมคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ ราชบัณฑิตยสถาน ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๐๕ ว่า เนื่องจากค� ำ ภาษาอังกฤษออกเสียงสูงต�่ ำไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับชนิดของประโยคและต� ำแหน่งในประโยค การทับศัพท์จึง เขียนกลาง ๆ โดยไม่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ เหตุผลดังกล่าวนับเป็นเหตุผลที่ส� ำคัญ นอกจากนี้ ผู้เขียน สันนิษฐานว่า ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อนน่าจะมีเหตุผลอื่นเพิ่มเติม เป็นต้นว่า ๑. ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโดยุโรเปียนเช่นเดียวกับภาษาบาลีและสันสกฤต เป็น ภาษามีวิภัติปัจจัยแต่ไม่มีวรรณยุกต์ ดังนั้นเมื่อเขียนด้วยอักษรไทยจึงไม่นิยมใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ และ ไม่นิยมใช้ไม้ไต่คู้โดยใช้หลักเดียวกับเขียนค� ำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต ๒. การทับศัพท์แบบนี้ท� ำให้สืบไปหารูปในภาษาเดิมได้ง่าย นอกจากเป็นประโยชน์ต่อการเรียน ภาษาอังกฤษแล้ว ยังอ� ำนวยประโยชน์ต่อการศึกษาความเป็นมาของค� ำที่ใช้ในภาษาไทยซึ่งเป็นการศึกษา ภาษาเชิงประวัติด้วย ผู้เขียนจึงใคร่เสนอเพื่อพิจารณาว่า การปรับเปลี่ยนการเขียนค� ำภาษาอังกฤษที่มีมาแต่เดิมนั้นน่า จะพิจารณาเป็นค� ำ ๆ ไปตามความจ� ำเป็นและความเหมาะสม โดยพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลดีและผล เสียของการปรับเปลี่ยนด้วย ทั้งไม่ควรวางเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวแล้วปรับเปลี่ยนทุกค� ำให้สอดคล้องกับกฎ เกณฑ์นั้น นอกจากนี้ บางค� ำน่าจะอนุโลมให้สะกดได้มากกว่า ๑ แบบ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น นราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ประทานข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องการสะกดค� ำตามเสียงและรูปเขียนในบทความเรื่อง “สยามพากย์” ดังนี้ นักภาษาศาสตร์ย่อมเห็นพ้องกันว่า ควรจะสะกดตามเสียงและมีพวกสัทนิยมศาสตร์ (phonet- ics) ก� ำลังจะให้แก้ตัวสะกดตามเสียงกันอยู่มาก แต่แม้ภาษาพูดจะเป็นตัวภาษาก็จริงอยู่ แต่ภาษาเขียนก็ เป็นหลักภาษาเหมือนกัน แม้วิทยุกระจายเสียงจะเจริญขึ้นสักเพียงใดก็ยังต้องอาศัยตัวหนังสือจับตาผู้อ่าน เป็นปัจจัยของภาษาอยู่ด้วย (๑๐๐ ปี พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นราธิปพงศ์ประพันธ์, หน้า ๑๘๘)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=