สำนักราชบัณฑิตยสภา
การเขี ยนค� ำภาษาอั งกฤษในพระราชนิ พนธ์ไกลบ้าน 128 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์มีลายพระหัตถ์ตอบในวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ดังนี้ พระยาอนุมานราชธน หนังสือของท่าน ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ปีก่อน ได้รับแล้ว ---------------------------------------------------------- ในการเขียนไม้ตรีของท่าน ผิดอยู่นิดเดียวที่ท่านไม่ได้บอกให้ฉันเข้าใจเสียว่า ท่านเขียนด้วย ประสงค์อย่างไรเท่านั้น เมื่อได้บอกให้เข้าใจแล้วก็เปนพ้นผิด เมื่อท่านบอกให้ทราบความประสงค์ก็ท� ำให้ นึกถึงกรมพระสมมต เคยทรงพระปรารภเสียงข้างจีนมีอีกเสียงหนึ่ง ซึ่งอยู่ในระหว่างไม้ตรีกับไม้จัตวา นั่น ก็มาลงกันกับที่ท่านว่ามานี้ เรื่องหนังสือไทยเรานี้ชอบกล บุคคลบางจ� ำพวกก็อยากเติมอะไรเข้าไป อย่าง น้อยก็เอาเท่าที่เห็นยังขาด อย่างมากก็จะให้อ่านให้ต้องตามใจ เช่นท่านให้ตัวอย่าง ท่านเขียน โนต แล้วถูก เติมไม้โท ที่เติมเข้าก็ผิดหลัก ที่ว่าแม่กดลงวรรณยุตไม่ได้นั้นด้วย แต่ก็เติมเข้ากระนั้นแหละ เพราะจะลาก ให้อ่านเป็นเสียงสูงไปสมใจ แต่ท่านผู้เป็นเจ้าของผู้เขียนกลับไม่เห็นด้วย ฉันเองก็มีความเห็นเช่นเดียวกับ ท่านเหมือนกัน จะให้ตัวอย่างที่สอนกันให้อ่านว่า วอ วา วิ วี วิ ตัวนั้นสอนกันให้อ่านกันเป็นเสียงสูง แต่ เราอ่านเป็นเสียงต�่ ำ เช่น วิลัย วิเศษ เปนต้น นั่นจะมิต้องลงไม้เอกที่ วิ ด้วยหรือ เสียงสูงนั้นนึกหาที่ใช้ไม่ ได้เลย ที่จริงอักษรตายนั้นอ่านออกเสียงไม่เที่ยง เช่น อักษร กุ ถ้าเขียนค� ำว่า กุศล ก็อ่านเป็นเสียงกลาง ถ้าเขียน กล้วยกุ ก็อ่านเปนเสียงถูกเอก แม้เขียน กุหลาบ กุแหละ ก็อ่านเปนเสียงถูกโท ตัวอย่าง กาญจนบุรี ชลบุรี ของท่านนั้นดีนัก ใครอยากจะอ่าน กาญจะนะบุรี หรือ ชะละบุรี ก็อ่านได้ หรือใครอยากอ่าน กานบุรี ชนบุรี ก็อ่านได้ ค� ำว่า เงิน นั่นก็ต้องเติม ไม้ไต่คู้แต่ก็ไม่เห็นใครลงไม้ไต่คู้ แต่ก็ไม่เห็นมีใครอ่านเสียงยาว เพราะค� ำเสียงยาวไม่มีในภาษา ก็อ่านตู่เปน เสียงสั้นทั่วกันไป ไม่มีใครอ่านเสียงยาว ฉันเป็นพวกข้างไม่ต้องการเติม ให้อ่านตู่กันไปตามที... (บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ ๒๕๐๖, เล่ม ๔ : ๑-๒) แนวคิดเรื่องการทับศัพท์ภาษาอังกฤษโดยไม่นิยมใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ก� ำกับหรือใช้ให้น้อย ที่สุดนี้ได้รับการยอมรับและยึดถือเป็นหลักสืบต่อมา ดังจะเห็นได้จากพระมติของพลตรี พระเจ้าวรวงศ์ เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ที่ประทานแก่คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานในการ ประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๐๕ ซึ่งรายงานการประชุมตอนหนึ่งบันทึกไว้ดังนี้ ประธานเสนอว่า กรมโลหกิจได้มีหนังสือมาว่า กรมโลหกิจมีความจ� ำเป็นต้องใช้ค� ำภาษาต่าง ประเทศเรียกชื่อ หิน แร่ โลหะ ซากสัตว์โบราณ ฯลฯ โดยเขียนในภาษาไทยด้วยวิธีทับศัพท์เป็นส่วนมาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=