สำนักราชบัณฑิตยสภา

127 ประคอง นิ มมานเหมิ นท์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ เห็น เปนต้น ไม่จ� ำต้องใช้ไม้ไต่คู้ เพราะค� ำ เหน ไม่มีที่ใช้ ท่านเห็นชอบด้วย (บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๒, หน้า ๕๓) พระยาอนุมานราชธนเห็นด้วยในกระแสพระด� ำริและกราบทูลถึงปัญหาของการใช้ไม้ไต่คู้และ วิสรรชนีย์อย่างพร�่ ำเพรื่อในจดหมายลงวันที่ ๑๓ เดือนเดียวกัน ดังนี้ เรื่องไม้ไต่คู้และเรื่องใช้วิสรรชนี ข้าพระพุทธเจ้าเห็นเป็นมั่นเหมาะดั่งกระแสพระด� ำริ การที่มา ก� ำหนดขึ้นใหม่ คือให้เติมไม้ไต่คู้ลงทุกค� ำ (เว้นแต่ค� ำมาจากสํสกฤตและบาลี) แม้ค� ำนั้นจะเติมไม้ไต่คู้หรือ ไม่ก็ไม่เปลี่ยนความ เป็นการเสียเวลาและยุ่งยาก เพราะจะต้องคอยระวังว่า ค� ำนั้นเป็นค� ำไทยหรือภาษา บาลี ถ้าเป็นผู้ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ ก็ท� ำความล� ำบากให้อยู่ ในเรื่องใช้วิสรรชนีก็ท� ำนองเดียวกัน นอกจาก ท� ำความยุ่งยากให้อ่านผิดเสียงที่ควรออก ยังจะต้องระวังดูว่าเป็นค� ำไทยหรือไม่ใช่ค� ำไทย ต่อเมื่อเป็นค� ำ ไทยจึงจะใช้วิสรรชนี ...... ......ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่า เรื่องใช้ไม้ไต่คู้และวิสรรชนีตามวิธีที่ใช้อยู่ในเวลานี้ เป็นต้นเหตุแห่ง การกลายเสียงในภาษาได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเห็นกันได้ก็ต่อเมื่อนานวันตั้งร้อยปีขึ้นไป เป็นลักษณะที่ในต� ำรา นิรุกติศาสตร์ของฝรั่ง เรียกว่าปรับเสียงให้เข้าแนวเทียบเสมอกันหมด (Analogical leveling) (บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๒, หน้า ๖๐-๖๑) ส่วนการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์นั้น มีหลักฐานว่าแต่เดิมไม่นิยมใช้ไม้โทและไม้ตรีกับอักษรต�่ ำ ค� ำตาย ดังจะเห็นได้จากจดหมายกราบทูลของพระยาอนุมานราชธนและลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ดังต่อไปนี้ จดหมายกราบทูลของพระยาอนุมานราชธน ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ….ที่ข้าพระพุทธเจ้าลงไม้ตรีในค� ำมีอักษรต�่ ำ เป็นความผิดของข้าพระพุทธเจ้าโดยแท้ ข้า พระพุทธเจ้าประสงค์เพียงจะจดเสียงอักษรต�่ ำ ซึ่งมีเสียงผันเป็นสูงกว่าลงไม้โทเล็กน้อย ไม่ทราบเกล้าฯ ว่า จะจดเป็นเครื่องหมายอย่างไร จึงได้ใช้ไม้ตรีลงก� ำกับ แต่ไม่ได้กราบทูลความข้อนี้ให้ทรงทราบ เวลานี้ค� ำว่า note ในภาษาอังกฤษ มักถอดเป็นหนังสือไทยว่า โน้ต สอบถามก็ได้ความว่า กระทรวงธรรมการบัญญัติไว้เช่นนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเคยเขียน โนต เมื่อเวลาตีพิมพ์มักถูกเติมไม้โทให้เสมอ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นพ้องในพระด� ำริที่เคยตรัสประทานข้าพระพุทธเจ้าไว้ ว่าค� ำต่างประเทศถ้าไม่จ� ำเป็นก็ไม่ ควรลงวรรณยุต จะอ่านเปนเสียงวรรณยุตไรก็ได้ ค� ำว่า โนต ในภาษาอังกฤษเองก็อ่านได้หลายเสียง สุดแล้ว จะเน้นค� ำในรูปประโยคชะนิดไร .... (บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ ๒๕๐๖, เล่ม ๓ : ๓๕๔)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=