สำนักราชบัณฑิตยสภา
การเขี ยนค� ำภาษาอั งกฤษในพระราชนิ พนธ์ไกลบ้าน 126 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ค� ำที่ยกมานี้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ไม้ไต่คู้และเครื่องหมายวรรณยุกต์ดังนี้ ๑. ไม่ปรากฏการใช้ไม้ไต่คู้เพื่อบอกเสียงสั้นและไม่ใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์โทเลย ๒. ปรากฏการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ใน ๒ กรณี คือ ๒.๑ ใช้ไม้เอกกับค� ำที่ลงท้ายว่า -ชั่น ( -tion ) ซึ่งเป็นค� ำเป็นและมีตัว ช เป็นพยัญชนะต้น อักษรต�่ ำ ได้แก่ค� ำว่า คอนเวอเซชั่น สเตชั่น และอิลลูมิเนชั่น ๒.๒ ใช้ไม้ตรีกับค� ำตายที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง ได้แก่ค� ำว่า ก๊อก ก๊าด ดุ๊ก ป๊าก โป๊ป โปสตก๊าด และโอ๊ก ข้อสังเกตนี้ท� ำให้สนใจศึกษาต่อไปว่า ก่อนหน้านี้ขึ้นไป มีการเขียนค� ำที่มาจากภาษาอังกฤษ อย่างไร ผู้เขียนจึงได้ศึกษาค� ำภาษาอังกฤษที่ปรากฏในหนังสือ ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ พบว่า ค� ำภาษา อังกฤษปรากฏอยู่ในประกาศต่าง ๆ ดังนี้ ๑. ประกาศว่าด้วยการประพฤติต่อฝรั่งเศส อังกฤษ และอเมริกันมาอยู่ในเมืองไทย ๒. ประกาศห้ามไม่ให้ช่วยคนในบังคับต่างประเทศยุโรปมาเป็นทาส ๓. ประกาศตั้งกงสุลปรุศเสียน ๔. ประกาศพระราชทานบรรดาศักดิ์พ่อค้าต่างประเทศ ๕. ประกาศว่าด้วยเครื่องรองน�้ ำฝนอย่างยุโรป ค� ำภาษาอังกฤษในประกาศดังกล่าวมีระบบการเขียนท� ำนองเดียวกับที่ปรากฏในหนังสือ พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน คือ ไม่ใช้ไม้ไต่คู้และเครื่องหมายวรรณยุกต์ ดังตัวอย่างค� ำว่า กงสุล กงสุลเยเนราล กวีนวิกตอเรีย กัปตันเอฟ ไลด์ ปารีส เปรสิเดนต์ มิสเตอร์หันเตอร์ ยุโรป เยเนราล เยอรมัน สกอตแลนด์ เสบเตมเบอร์ อังกฤษ และอิสตกัมปนี เมื่อศึกษาเพิ่มเติมก็ท� ำให้เข้าใจได้ว่า การใช้ไม้ไต่คู้นี้ เดิมใช้เท่าที่จ� ำเป็น ดังจะเห็นได้จากค� ำว่า เป็น สมัยนั้นเขียนว่า เปน เพราะจะออกเสียงสั้นหรือยาวก็ไม่เปลี่ยนความหมาย ในลายพระหัตถ์สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ประทานแก่พระยาอนุมานราชธนเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ทรงเสนอว่าการใช้ไม้ไต่คู้ต้องพิจารณาเป็นค� ำ ๆ ไปว่า ค� ำ ๆ นั้นออกเสียงสั้นและ ยาวแล้วท� ำให้มีความหมายต่างกันหรือไม่ หากไม่ท� ำให้เกิดปัญหาก็ไม่จ� ำเป็นต้องใช้ไม้ไต่คู้ ทรงยกตัวอย่าง คู่เทียบเสียง (minimal pair) ของบางค� ำมาให้พิจารณาด้วย ดังต่อไปนี้ เครื่องหมายของเราแต่ก่อนใช้น้อย ทีหลังก็ถ้วนถี่ใช้มากขึ้นทุกที เช่น ไม้ไต่คู้เป็นต้น แต่ก่อนก็ไม่สู้ ได้ใช้ เดี๋ยวนี้ใช้จนขาดไม่ได้ ติกันว่าเขียนผิด แต่ก็เปล่าๆ ค� ำอันต้องที่ใช้ เช่น เงิน ก็ไม่เห็นมีใครใช้ สมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ท่านอึดอัดใจ ตั้งปัญหาถามฉันว่าค� ำใดควรใช้ไม้ไต่คู้และไม่ควรใช้ ฉันพยากรณ์ถวาย ท่านว่า ค� ำใดซึ่งใช้ทั้งสั้นยาวมีความหมายต่างกัน เช่น เอ็น เอน จ� ำต้องใช้ไม้ไต่คู้ ถ้าไม่ใช่ค� ำเช่นนั้น เช่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=