สำนักราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ การเขียนค� ำภาษาอังกฤษในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน * ประคอง นิมมานเหมินท์ ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้เขียนได้เสนอบทความในที่ประชุมส� ำนักศิลปกรรมเรื่อง “จากอุปรากรเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลายของปุชชินีถึงละครซอล้านนาเรื่องน้อยไจยา” การค้นคว้าเพื่อ เขียนบทความเรื่องนี้ท� ำให้ผู้เขียนต้องอ่านหนังสือหลายเล่ม และหนังสือที่ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์อย่าง ยิ่งแก่ผู้เขียน คือ พระราชนิพนธ์ไกลบ้านในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระราช หัตถเลขาถึงเจ้าฟ้านิภานภดล เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ใน ร.ศ. ๑๒๕ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๙) ที่น่าสังเกตก็คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องนี้มีการใช้ค� ำภาษาต่างประเทศจ� ำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นภาษา อังกฤษ เมื่อได้รับ “แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเขียนค� ำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒” ซึ่งเสนอให้พิจารณารูปแบบการเขียนค� ำยืมจากภาษาอังกฤษตาม อักขรวิธีไทย อันเป็นข้อเสนอของศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคสกุล ท� ำให้ผู้เขียนเกิดความสงสัยขึ้นมา ว่า ในสมัยก่อนนั้นเขียนกันอย่างไร และเพราะเหตุใดจึงเขียนเช่นนั้น เพื่อหาค� ำตอบเรื่องนี้ผู้เขียนจึงกลับ ไปอ่านหนังสือพระราชนิพนธ์ไกลบ้านอีกครั้งหนึ่ง และด� ำเนินการรวบรวมค� ำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ปรากฏ ในพระราชนิพนธ์เรื่องนี้เพื่อน� ำมาใช้ประกอบการพิจารณา ผู้เขียนพยายามจะรวบรวมค� ำศัพท์ภาษาอังกฤษในพระราชนิพนธ์ไกลบ้านให้ได้มากที่สุด แต่ เนื่องจากมีเวลาจ� ำกัด จึงอาจมีหลงหูหลงตาไปบ้าง ค� ำศัพท์ภาษาอังกฤษที่รวบรวมมาจ� ำนวน ๑๑๗ ค� ำ ส่วน ใหญ่เป็นค� ำนาม มีทั้งชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อทวีป ชื่อประเทศ ชื่อเมือง ค� ำนามทั่วไป รวมทั้งมาตรา วัดและค� ำบอกเวลา เพื่อให้ทราบที่มาของค� ำได้ชัดเจน ผู้เขียนได้เขียนรูปศัพท์เดิมไว้ในวงเล็บด้วย ดังต่อ ไปนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=