สำนักราชบัณฑิตยสภา

ค� ำปรารถเรื่ องการแทรก ห น� ำ ในค� ำที่ มาจากภาษาต่างประเทศ 118 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ๗. อักษรสูงเมื่อน� ำอักษรต�่ ำเดี่ยวในค� ำต่อไปนี้ ท� ำไมจึงออกเสียงเหมือนมี ห น� ำ เช่น กษณะ [กะสะหฺนะ] เมื่อเทียบกับ ปราษณีย์ [ปราดสะนี] (ส้นเท้า), ปารษณีย [ปาดสะนี] (ส้นเท้า), ไปรษณีย์ [ไปรสะนี] เช่นเดียวกับ กษมา (ความอดกลั้น, แผ่นดิน), สูกษมะ [สูกะสะมะ] (สุขุม) กลับออกเสียงแบบไม่มี ห น� ำ เพราะอะไรและจะรู้ได้อย่างไร ใครจะสามารถตอบได้ว่าเมื่อไรจะมี ห น� ำ หรือเมื่อไรจะไม่มี ห น� ำ ๘. <ส> ซึ่งเป็นอักษรสูงสามารถน� ำอักษรต�่ ำเดี่ยว <น> ที่เป็นค� ำตายได้ในค� ำว่า กษณะ [กะสะหฺนะ] (ครั้ง, คราว, ครู่), วาสนา [วาดสะหนา], ศาสนา [สาดสะหนา], สาสนา [สาดสะหนา] ออกเสียงแบบมี ห น� ำ แต่ท� ำไม สวนะ [สะวะนะ] (การไหลไป), สวนาการ (อาการที่ไหลไป), สวนีย์ [สะวะนี] (ค� ำไพเราะ), ศาสนะ [สาสะนะ], สุทัสนะ [สุทัดสะนะ] (ชื่อภูเขาชั้นที่ ๔ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์รอบเขาพระสุเมรุ), อนุปัสนา (การ พิจารณา), อนุสาสนี [อะนุสาสะนี] (ค� ำสั่งสอน), อังสนา [อังสะนา] (ดอกประดู่) จึงออกเสียงแบบไม่มี ห น� ำ ๙. เนื่องจากเรื่องอักษรน� ำมีปัญหาที่ต้องศึกษาและวิจัยมาก การแก้ปัญหาโดยเติม ห น� ำ หรือ ไม่มี ห น� ำ ควรแก้ปัญหาให้ได้เสียก่อนที่จะตัดสินใจปฏิวัติการสะกดค� ำไทยที่ดูเหมือนง่ายมาก แต่ที่จริง แล้วเป็นปัญหาที่ลึกซึ้งและซับซ้อนเกินกว่าที่คิด ๑๐. ท� ำไมบางค� ำจึงมีทั้ง ๒ รูป คือทั้งที่มี ห น� ำ และไม่มี ห น� ำ แต่ออกเสียงเหมือนกัน เช่น ก� ำนัด ก� ำหนัด จ� ำนับ จ� ำหนับ ด้วยเหตุผลอันใดพจนานุกรมจึงให้เก็บไว้ทั้ง ๒ รูป ๑๑. เราจะรู้ได้อย่างไรว่า <อ> ทั้ง ๆ ที่เป็นอักษรกลางปรากฏน� ำหน้าอักษรต�่ ำเดี่ยว เช่น อนรรฆ [อะนัก] (หาค่ามิได้), อนรรถ [อะนัด] (ไม่เป็นประโยชน์), อนิจ [อะนิด] (ไม่ยั่งยืน), อนิจจัง [อะนิดจัง] (ไม่ เที่ยง), อนิฏฐารมณ์ [อะนิดถารม] (อารมณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา), อนิยต [อะนิยด] (ไม่แน่นอน), อนิยม [อะนิยม] (ไม่แน่นอน, ไม่มีก� ำหนด, นอกแบบ), อนิละ [อะนิละ] (ลม), อนิวรรต [อะนิวัด] (ไม่กลับ), อนิวรรต น์ [อะนิวัด] (ไม่ท้อถอย), อนิษฏ์ [อะนิด] (ไม่ปรารถนา), อนึก (กองทัพ), อนุ [อะนุ], อนุช [อะนุด] (น้อง สาว), อนุปัสนา [อะนุปัดสะนา] (การพิจารณา), อนุสาสนี [อะนุสาสะนี] (ค� ำสั่งสอน), อาสนะ [อาดสะนะ], อ� ำนรรฆ [อ� ำนัก] (หาค่ามิได้), อ� ำนาจ [อ� ำนาด], อ� ำนิฐ [อ� ำนิด] (ต้องใจ, น่ารัก), อ� ำนิษฐ์ [อ� ำนิด] (ต้องใจ, น่ารัก) ออกเสียงแบบไม่มี ห น� ำ ขณะที่ อนาถ, อนึ่ง, อเนก (มาก), อเนจอนาถ [อะหฺน็ดอะหนฺาด] (สลด ใจเป็นอย่างยิ่ง), อมาตย์ [อะหฺมาด] (ข้าราชการ, ที่ปรึกษา), อ� ำนาถ [อ� ำหฺนาด] (น่าสงสาร), อ� ำมาตย์ [อ� ำหมาด] [อ� ำหฺมาด] (ข้าราชการ, ที่ปรึกษา) ออกเสียงแบบมี ห น� ำ ๑๒. ค� ำภาษาอังกฤษจะต้องท� ำการวิจัยค้นคว้าอย่างมีระบบว่าออกเสียงวรรณยุกต์ใดแน่ เพราะ หลายคนออกเสียงค� ำเดียวกันไม่เหมือนกัน ต้องวิจัยหาระบบที่แน่นอนเสียก่อน ไม่ใช่ตัวเองออกเสียงแบบ หนึ่ง คนอื่นจะออกเสียงเหมือนเราด้วย เพราะต่างคนต่างได้ยิน เสียงที่ได้ยินอาจจะผิดเพี้ยนกันได้ ๑๓. ระบบการลงเสียงเน้นหนักในค� ำภาษาอังกฤษที่บางคนเชื่อว่าไม่สามารถจะท� ำนายได้นั้น ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์แนวปริวรรตและปาละพันธะสามารถหาสูตรท� ำนายการลงเสียงเน้นหนักในค� ำ ภาษาอังกฤษได้แล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๘

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=