สำนักราชบัณฑิตยสภา
ค� ำปรารถเรื่ องการแทรก ห น� ำ ในค� ำที่ มาจากภาษาต่างประเทศ 116 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ข้อสงสัยที่นักภาษาไทยต้องตอบหรือต้องพยายามหาค� ำตอบ ๑. เรื่องที่น่าสนใจและน่าฉงนที่สุดขณะนี้คือ ทั้ง <ด และ ต> ในภาษาไทยจัดว่าเป็นอักษรกลาง ด้วยกันทั้งคู่ แต่ท� ำไม ดนุ [ดะนุ] ออกเสียงแบบไม่มี ห น� ำ แต่ ตนุ [ตะหนุ] ออกเสียงแบบมี ห น� ำ ค� ำตอบ เรื่องนี้คงจะต้องยึดหลักพลังหรือแรงที่ประกบอยู่ในตัวอักษรแต่ละตัว ๑.๑ พลังหรือแรงที่ประกบอยู่ในตัวอักษร (consonantal strength) แต่ละตัว อันได้แก่ เสียงหยุดอโฆษะสิถิล มีพลังประกบในตัวสูงที่สุด รองลงไปคือ เสียงหยุดโฆษะสิถิล ในกรณีนี้ คือ <ด> ฉะนั้น ตนุ จึงออกเสียงแบบมี ห น� ำได้ แต่ <ด> มีพลังประกบ หรือแรงประกบน้อยกว่า <ต> จึงออกเสียงแบบมี ห น� ำ ไม่ได้ ๑.๒. เสียงนาสิกที่มีพลังประกบน้อยที่สุดคือ <ง> รองลงไป คือ <น> และมากที่สุดคือ <ม> ๑.๓. เสียง <ย, ว> มีแรงหรือพลังประกบน้อยที่สุด ๑.๔. เราควรจะสงสัยหรือไม่ว่าวิสรรชนีย์ (ะ) ในภาษาไทยเป็นตัวกั้นพลังหรือแรงประกบ ไม่ให้แผ่ขยายไปยังพยัญชนะที่ตามมา ๒. ค� ำว่า ยุโรป ไม่มีอักษรสูงหรืออักษรกลางน� ำ แต่ออกเสียงเป็น [ยุโหฺรบ] เหมือนมี ห น� ำได้ เพราะเหตุใด เพราะมีอักษรกลาง <ป> สะกด ใช่หรือไม่ ค� ำว่า อียิปต์ ออกเสียงเป็น [อีหฺยิบ] นั้นมีอักษร กลางน� ำ และยังมีเสียงสระแทรก แต่ยังออกเสียงเหมือนมี ห น� ำได้ ท� ำให้สงสัยว่าเพราะมีอักษรกลาง <ป> สะกดหรือเปล่า ซึ่งไม่น่าจะใช่เพราะ ประนัปดา (เหลน) ก็ไม่ได้ออกเสียงเหมือนมี ห น� ำ แล้วนักเรียนไม่ว่า จะเป็นคนไทยและไม่ใช่คนไทยจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไรจะต้องสะกดอย่างมี ห น� ำ และถ้าจะต้องเขียน ๒ ค� ำนี้เป็น ยุโหรป และ อีหยิปต์ คิดว่าคนไทยจะรับได้ไหม ความเคยชินเป็นปัจจัยหนึ่งที่ครอบง� ำความรู้สึก ของมนุษย์ที่แก้ไขได้ยาก ๓. ค� ำที่มีอักษรสูงน� ำแต่มีสระแทรกระหว่างอักษรน� ำกับพยางค์ถัดไป เช่น สิริ นั้น นักภาษาไทย ไม่เคยบอกว่าอนุญาตให้มีสระหรือพยัญชนะแทรกได้กี่ตัวจึงจะออกเสียงเหมือนมี ห น� ำได้ สวยม (ด้วยตัว เอง) ออกเสียงว่า [สะวะหฺยม] เพราะเหตุผลอะไรจึงอนุญาตให้ <ว> แทรกระหว่าง <สย> ได้ นักภาษา ไทยจะต้องหาค� ำตอบให้ได้ และค� ำนี้ควรสะกดเป็น *สวหฺยม ได้ใช่ไหม ฉะนั้น ถ้าใช้หลักแนวเทียบ สวนิต (ยิน, ฟัง) ต้องเกิดเป็นคนไทยที่เคยได้ยินค� ำนี้มาก่อนเท่านั้นจึงจะยอมรับว่า สวนิต (ยิน, ฟัง) สะกดถูกต้อง ยังมีค� ำอื่นอีกไหมที่มีพฤติกรรม เช่น สวนิต คงพอจะตอบได้ว่าคงมี สวนะ [สะวะนะ] (การไหลไป), สวระ [สะวะระ] (เสียง), สวราชย์ [สะวะราด] (การปกครองด้วยตนเอง, ความเป็นเอกราช) ท� ำไมเราไม่วิจัยหา สูตรไวยากรณ์การสะกดค� ำไทยเสียก่อน ฉะนั้นถ้าหากจะสะกด สิริ เป็น สิหริ สวยม เป็น สวหฺยม นั้น คิด ว่าคนไทยจะรับได้ไหม ควรจะปรับปรุงการสะกดค� ำหรือปฏิวัติการสะกดค� ำอย่างไรคนไทยทั้งประเทศจะ ยอมรับได้ไหม การที่ภาษาไทยมีที่มาจากหลายแหล่งท� ำให้ยากต่อการจัดระบบการสะกดค� ำในภาษา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=