สำนักราชบัณฑิตยสภา
111 อุดม วโรตม์สิ กขดิ ตถ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ปัญหาเรื่องอักษรน� ำ ๑. นักภาษาไทยเชื่อกันว่า อักษรสูงและอักษรกลางน� ำอักษรต�่ ำเดี่ยวได้ นักภาษาไทยไม่ได้อธิบายแยกแยะว่า พฤติกรรมของอักษรสูงน� ำอักษรต�่ ำเดี่ยวนั้นแตกต่าง จากอักษรกลางน� ำอักษรต�่ ำเดี่ยวอย่างไร อักษรสูงน� ำหน้าพยางค์ต่าง ๆ ได้ ดังนี้ ๑.๑ อักษรสูงน� ำอักษรต�่ ำเดี่ยวที่เป็นค� ำเป็นออกเสียงเหมือนมี ห น� ำ ได้ เช่น ขนง [ขะหฺนง] (คิ้ว), ขม�้ ำ [ขะหฺม�้ ำ], ขรม [ขะหฺรม] (เอ็ดอึง), แฉล้ม [ฉะแหฺล้ม] (สวย), เถลิง [ถะเหฺลิง] (ขึ้น), ผงร [ผะหฺงอน] (หงาย), ผงอน [ผะหฺงอน] (แผ่นดิน), ฝรั่ง [ฝะหฺรั่ง], สล้าง [สะหฺล้าง], ศยาม [สะหฺยาม] (คล�้ ำ ด� ำ) ๑.๒ อักษรสูงที่น� ำหน้าอักษรต�่ ำเดี่ยวที่เป็นค� ำเป็นแต่ออกเสียงไม่มี ห น� ำ เช่น ขมอย [ขะมอย], ขมา [ขะมา], ผลานิสงส์ [ผะลานิสง] (ผลแห่งบุญกุศล), ศรัณย์ [สะรัน] (ซึ่ง เป็นที่พึ่ง), ษมา [สะมา] (กล่าวค� ำขอโทษ), สลิล [สะลิน] (น�้ ำ), สมาคม, สมังคี [สะมัง คี] (ประกอบด้วย), สิงหรา [สิงหะรา] (สิงห์ตัวเมีย), หริน [หะริน] (ชื่อพระนารายณ์; สี ขมิ้น), หิรัณย์ [หิรัน] (ทองค� ำ, เงิน) นักภาษาไทยไม่เคยบอกว่า ความแรงเชิงแม่เหล็ก ของอักษรสูงที่สามารถแผ่ขยายไปสู่อักษรต�่ ำเดี่ยวที่ตามมานั้นสามารถจะมีพยัญชนะ สระ (หรือแม้แต่วรรณยุกต์แทรกก่อนหน้าอักษรต�่ ำเดี่ยวได้กี่ตัวจึงจะถือว่าเป็นการ แทรกที่ยังมี <ห> น� ำได้ ๑.๓ อักษรสูงน� ำอักษรต�่ ำเดี่ยวที่เป็นค� ำตายออกเสียงเหมือนมี ห น� ำ ได้ เช่น กนก [กะหฺนก], เขม็ดแขม่ [ขะเหฺม็ดขะแหฺม่], โฉนด [ฉะโหฺนด], ถลก [ถะหฺลก], ถลอก [ถะหฺลอก], ผนึก [ผะหฺนึก], ผลิต [ผะหฺลิด], สมัคร [สะหฺมัก], สละ ๒ [สะหฺละ] (ชื่อ ปาล์มชนิดหนึ่งผลสีคล�้ ำไม่มีหนามเนื้อสีขาว; ชื่อปลาทะเล; บริจาค, ละวาง; ละ, ทิ้ง), สิริ ๓ [สิหฺริ] (ศรี, มงคล, ผสม), หิริ [หิหฺริ] (ความละอายใจ) ๑.๔ อักษรสูงน� ำอักษรต�่ ำเดี่ยวที่เป็นค� ำตายออกเสียงเหมือนไม่มี ห น� ำ ได้ เช่น สละ [สะ ละ] (ขนเม่น), กฤษณะ [กริดสะนะ] (ด� ำ), ดักษณะ [ดักสะนะ] (การตัด, การปอก), วิษณุ [วิดสะนุ] (พระนารายณ์), ศาสนะ [สาสะนะ], สมิทธ์ [สะมิด] (สมบูรณ์), หนุ [หะนุ] (คาง), หริ [หะริ] (ชื่อพระนารายณ์, สีขมิ้น), หรณะ [หะระนะ] (การน� ำไป), หริต [หะริด] (ของเขียว), หริตกี [หะริตะกี] (ต้นสมอไทย) จะรู้ได้อย่างไรว่าค� ำข้างต้น ออกเสียงแบบไม่มี ห น� ำ ๒ ค� ำเดียวที่ออกเสียงได้หลายอย่างและมีหลายความหมาย ผู้เรียนต้องจดจ� ำแต่ละความหมายให้ได้ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๒๕๔๒.๑๑๙๖) ๓ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (๒๕๔๒.๑๑๙๖) มีความหมายได้ถึง ๓ ชนิด ไม่ได้ระบุค� ำอ่านไว้ว่าเป็นแบบมี ห น� ำหรือไม่ แต่ปัจจุบันเมื่อมีความหมายว่า ‘ผสม, รวม’ มักออกเสียงเป็น [สิ หฺริ ] ซึ่งลักษณะเช่นนี้สร้างความล� ำบากให้ผู้เรียนอย่างมาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=