สำนักราชบัณฑิตยสภา

ค� ำปรารถเรื่ องการแทรก ห น� ำ ในค� ำที่ มาจากภาษาต่างประเทศ 110 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ๑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒ หน้า (๔) กล่าวว่าตัวสะกดที่มีอักษรซ�้ ำ เช่น กิจจ เขตต จิตต ในกรณีที่ตัวหลังไม่มีสระก� ำกับ ให้ตัดออกตัวหนึ่งเป็น กิจ เขต จิต แม้จะเป็นส่วนหน้าสมาสก็ออกเสียงตัวสะกดได้นิดหนึ่งโดยไม่ต้องซ้อน ปรากฏค� ำว่า เซลล์ ๑ หน้า ๑๓๕๘ อัสสนี อยู่ เมื่อ บอลล์ ปัจจุบันสะกดเป็น บอล ท� ำไม ๓ ค� ำดังกล่าวจึง ไม่สะกดเป็น จิต เซล และ อัสนี ตามล� ำดับ ปัญหาเรื่องการใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ให้ถูกต้องในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นเรื่องที่ควรจะเห็นด้วย อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ได้เสนอบทความทางวิชาการเรื่อง การใส่เครื่องหมาย วรรณยุกต์ในค� ำยืม ต่อที่ประชุมส� ำนักศิลปกรรมเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สนับสนุนในเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาอื่นดังต่อไปนี้อยู่ ๑. ค� ำไวยากรณ์บางค� ำ เช่น จะ เมื่อออกเสียงเป็นเสียงสามัญ แต่อ่านตามตัวสะกดจะเป็น เสียงเอก และไม่มีทางใดที่จะสะกดให้เป็นเสียงสามัญได้ ๒. ประโยคว่า “ไปด้วยกันสิ้” ไม่ปรากฏว่ามีใครเขียนว่า “สิ้” ต้องเขียนตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า “ไปด้วยกันสิ” หรือ “ไปด้วยกันซี” ทั้ง ๆ ที่น่าจะ เขียนว่า “สิ้” แต่เพราะค� ำนี้ไม่ปรากฏ “สิ้” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่มีใครใช้ ๓. อาการที่เลือดไหลออกน้อย ๆ บางคนก็ว่า เลือดไหลซิบ ๆ บางคนก็ว่าเลือดไหลสิ้บ ๆ ๔. ค� ำ ๒ พยางค์หรือมากกว่าบางค� ำที่สะกดด้วยอักษรกลาง อักษรต�่ ำ หรืออักษรสูงที่ไม่ลง มุขยัต (prominence) เช่น กะ ใน เขา กะ ผม กะบึงกะบอน มะนาว สบาย ม โหรี การ ออกเสียงตัวเอนแตกต่างกันไปตามปัจเจกบุคคลและท้องถิ่น แต่ส่วนมากออกเสียงเป็น เสียงสามัญ ๕. มัธยะสระ (neutral vowel) ที่มีวรรณยุกต์เป็นเสียงสามัญ แต่มีรูปสระแตกต่างกันไป ในแต่ละกรณี ไม่สามารถจะเขียนด้วยอักษรไทยให้ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ที่แท้จริงได้ เช่น ราชการ [ราด? ชะ ?กาน] มีนบุรี [ ?มิน??บุ?รี ] ในตัวสะกดเป็นสระเสียงยาว แต่เมื่อพูดเป็น สระเสียงสั้น และ บุ ก็ไม่ใช่เสียงวรรณยุกต์เอกแต่เป็นวรรณยุกต์เสียงสามัญ ๖. ค� ำสรรพนามบางค� ำที่ปัจจุบันสะกดอย่างหนึ่งออกเสียงอย่างหนึ่งจะอธิบายอย่างไร เช่น เขา-เค้า, ฉัน-ชั้น, ผม-พ้ม เพราะต่างก็เกี่ยวข้องกับการสะกดและการออกเสียง ๗. สังคมไทยคุ้นกับการถอดอักษรมากกว่าการถ่ายเสียง เช่น Cinemascope ก็ถอดเป็น ซีเนมาสโคป แต่ถ้าถ่ายเสียงควรจะเป็น [ซิ (เสียงสามัญ) นะ (เสียงสามัญ) ม่ะซะ (เสียง สามัญ) โก๊ป] ซึ่งถ้าถ่ายเสียงแบบนี้คิดว่าคนไทยปัจจุบันคงทนไม่ได้และรับไม่ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=