สำนักราชบัณฑิตยสภา

ศิ ลปะวิ ทยาศาสตร์ศึ กษา 2 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ๑. ความหมายของศิลปศาสตร์ ศัพท์หลายค� ำในทางวิชาการที่มีความหมายบางส่วนคล้ายคลึงกัน แต่ก็ยังมีบางส่วนที่แตกต่างกัน ได้แก่ arts, humanities, letters และ liberal arts arts หรือ ศิลปศาสตร์ ในความหมายที่กว้าง หมายถึงกลุ่มองค์ความรู้ที่ครอบคลุมสาขาวิชา ต่าง ๆ ที่มิใช่วิทยาศาสตร์ เช่น ภาษา ประวัติศาสตร์ วรรณคดี รวมทั้ง art หรือ ศิลปกรรมที่เป็นองค์ ความรู้ที่ครอบคลุม performing art เช่น ดนตรี นาฏศิลป์ และ visual art เช่น วิจิตรศิลป์ ประติมากรรม humanities หรือ มนุษยศาสตร์ ซึ่งเป็นศัพท์ที่นิยมใช้ภายหลัง เป็นกลุ่มวิชาที่เกี่ยวกับมนุษย์และพฤติกรรม ในสังคม จึงน่าจะคล้ายกับ arts แต่ได้เน้นให้เห็นความส� ำคัญของ social science หรือ สังคมศาสตร์ letters หรือ อักษรศาสตร์ เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับหนังสือ คล้ายกับศิลปศาสตร์ liberal arts เดิมได้รวมองค์ความรู้ทั้ง ๓ กลุ่มหลัก ได้แก่ arts, social science และ natural science (หรือ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ) วิทยาลัย arts & science เช่น ในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน และวิทยาลัย letters & science เช่น ในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ Berkeley รับผิดชอบในการสอน liberal arts เป็น องค์ความรู้พื้นฐานในมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์เคยเป็นคณะแรกของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน่วยราชการหลักที่เกี่ยวข้องกับศิลปศาสตร์ เช่น ราชบัณฑิตยสถาน ส� ำนักงานการอุดมศึกษา ได้ใช้ศัพท์ที่สร้างความสับสนมากขึ้นให้แก่นักวิทยาศาสตร์ ส� ำนักศิลปกรรมของราชบัณฑิตยสถานมีทั้งนัก อักษรศาสตร์ที่ทรงคุณวุฒิทางภาษาและวรรณคดี ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมืองของราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง social science หรือไม่ การอธิบายความหมายของศิลปศาสตร์ก็ขัดกันเอง ส� ำนักการอุดมศึกษา ได้แบ่งกลุ่มองค์ความรู้หลักไว้ ๔ กลุ่ม คือ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ วิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งที่สังคมศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของมนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพเป็นส่วน หนึ่งของเทคโนโลยี เป็นไปได้หรือไม่ที่ทั้ง ๒ หน่วยงานน่าจะช่วยกันลดความสับสน โดยหารือกันเพื่อ ปรับความหมายศัพท์ภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งก� ำลังจะมีความส� ำคัญมาก ขึ้นเนื่องจากได้ยอมรับกันในประชาคมอาเซียนให้เป็นภาษากลางแล้ว ศิลปะวิทยาศาสตร์ น่าจะเป็นศัพท์ ภาษาไทย ที่ตรงกับความหมายของ liberal arts มากกว่า ศิลปศาสตร์ หรือ ศิลปศาสตร์ประยุกต์ ๒. ความส� ำคัญของศิลปะวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบันและอนาคต สภาพของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและวัฒนธรรม มีความยุ่งยากและความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติโดยตรง การแก้ไขปัญหาและท� ำให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต จ� ำเป็นต้องอาศัยความรู้พื้นฐานที่กว้าง ทั้งศิลปะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นสหวิทยาการ เช่น environmental studies, information studies

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=