สำนักราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ค� ำปรารภเรื่องการแทรก ห น� ำ ในค� ำที่มาจากภาษา ต่างประเทศเพื่อให้ออกเสียงได้ตามอักขรวิธีไทย ส� ำหรับเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการ เขียนค� ำที่มาจากภาษาต่างประเทศ อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน จากการสอบถามนักภาษาศาสตร์ชาวต่างประเทศทั้งยุโรปและอเมริกาประมาณ ๑๕ คน เรื่อง ตัวสะกดและการออกเสียง ว่ามีภาษาใดบ้างในโลกที่การสะกดค� ำและการออกเสียงตรงกันหมดไม่มีการ ยกเว้นที่สะกดอย่างหนึ่งออกเสียงอีกอย่างหนึ่ง ทุกคนตอบอย่างกังขาว่า ถ้าจะมีก็คงเป็นภาษา Esperanto ภาษาประดิษฐ์ซึ่ง Dr. Zamenhof นายแพทย์ชาวโปแลนด์ได้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๘๘๗ นับเป็นเวลาที่ ล่วงเลยมาแล้ว ๑๒๕ ปี ปัจจุบันมีผู้พูดประมาณ ๒ ล้านคน เมื่อเวลาล่วงเลยมานาน ข้าพเจ้าได้สอบถาม ไปยัง Mr. Yves Bellefeuille ผู้พูดภาษา Esperanto มาตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี ปัจจุบันอายุ ๔๙ ปี สามารถพูด ภาษา Esperanto ได้คล่องและเป็นผู้ดูแลบัญชีค� ำของภาษา Esperanto ให้ค� ำตอบและค� ำยืนยันว่า ไม่มี ค� ำใดในภาษา Esperanto ที่ออกเสียงได้สองอย่างหรือหลายอย่าง หรือออกเสียงไม่ตรงตามที่สะกด ภาษา Esperanto นั้นสะกดอย่างไรก็ออกเสียงอย่างนั้น ส่วนภาษาธรรมชาตินั้นนักภาษาศาสตร์เชื่อว่าภาษาสเปน สะกดค� ำค่อนข้างใกล้เคียงกับการออกเสียงแต่ก็มีข้อยกเว้น ดูเหมือนว่าภาษาฟินนิชแต่เดิมเป็นภาษาที่ ตัวสะกดใกล้เคียงกับการออกเสียงที่สุดในบรรดาภาษาธรรมชาติ จึงได้สอบถามไปยัง Professor Paul Kiparsky แห่ง Stanford University ผู้พูดภาษาฟินนิชเป็นภาษาแม่และได้รับค� ำตอบว่า ปัจจุบันไม่เป็น เช่นนั้นแล้ว มีค� ำยกเว้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการสัมผัสกับภาษาอื่นมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เราเชื่อ ว่าการออกเสียงกับการสะกดค� ำนั้นไม่จ� ำเป็นต้องตรงกันเสมอไป ทุกภาษามีข้อยกเว้นเพราะกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นไปตามข้อตกลงของคนในแต่ละชาติแต่ละภาษา ขอให้ดูข้อตกลงเกี่ยวกับการเขียนตัวสะกดซ�้ ำ ๒ ตัว (gemmination) หรือบางทีก็เรียกว่า ตัวซ้อน (ทั้ง ๆ ที่ไม่ซ้อน) ของภาษาไทยในหน้า (๔) ของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ก� ำหนดให้ตัดอักษรซ�้ ำออก ๑ ตัว เช่น สัจจ เหลือเพียง สัจ แต่ถ้าดู พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ในหน้า ๓๑๒ ยังปรากฏค� ำว่า จิตต์ ในหน้า ๓๘๔ ยัง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=