ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖
361 ชนก สาคริก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๖ ผลการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศที่โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์นั้นคณะกรรมการฯ ได้คัด เลือกกลุ่มเยาวชนที่เข้าแข่งขันไว้ ๓ กลุ่มจาก ๑๖ กลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มที่แสดงศิลปะทางด้านนาฏศิลป์ ทั้ง ๓ กลุ่ม วงเพลงพิณอาเซียนไม่เข้ารอบในครั้งนี้เพราะดูเหมือนว่าคณะกรรมการผู้ตัดสินจะให้ความ สนใจกับการแสดงทางนาฏศิลป์ประยุกต์มากกว่า อย่างไรก็ดี ผู้เขียนก็พอใจที่ได้แสดงแนวคิดในการ ผสมผสานศิลปวัฒนธรรมกับประชาคมอาเซียนให้ปรากฏแก่สื่อมวลชนและบุคคลทั่วไป ทั้งยังได้ปลูกฝัง เยาวชนไทยจ� ำนวนหนึ่งให้ได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนเอาไว้บ้างซึ่ง อาจจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเขาเองและประเทศชาติในอนาคต ผู้อ่านท่านใดสนใจจะชมการบรรเลงของ วงเพลงพิณอาเซียนในการประกวด Asean Smart Teens โปรดเข้าชมในระบบอินเทอร์เน็ตได้ ณ ที่อยู่ ซึ่งแสดงไว้ข้างใต้ภาพด้านล่าง ที่อยู่ (URL) ของวีดิทัศน์การประกวดวงเพลงพิณอาเซียน http://m.youtube.com/#/watch ?desktop_uri=%2Fwatch%3Fv%3DOaRYLJgL_8o%26feature%3DBFa% 26list%3DULl9t_1S_5yYw&list=ULl9t_1S_5yYw&feature=BFa&v=OaRYLJgL_8o&gl=US วงเพลงพิณอาเซียน ขณะแสดงต่อหน้าคณะกรรมการตัดสินที่โรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=