ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖
357 ชนก สาคริก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๖ หลังจากทราบรายละเอียดของการประกวดแล้ว ผู้เขียนจึงมีความคิดที่จะส่งวงดนตรีรูปแบบ พิเศษสักวงหนึ่งซึ่งน� ำเครื่องดนตรีของชาติในกลุ่มอาเซียนมาบรรเลงเพลงไทยร่วมกันจึงฝึกซ้อมลูกศิษย์ที่ เป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมจ� ำนวน ๖ คนส่งเข้าประกวดโดยตั้งชื่อวงว่า “เพลงพิณอาเซียน” รอบแรกนั้น ใช้เครื่องดนตรีประกอบไปด้วย ๑. พิณกู่เจิง ๒. พิณปีกนก ๓. พิณพม่า ๔. ซอด้วง ๕. ขิมไทย ๖. โทน ร� ำมะนา เพลงที่บรรเลงมี ๔ เพลงคือ เพลงละว้า เพลงข่า เพลงเส่เหลเมา เพลงญวนร� ำโคม วงเพลงพิณอาเซียน ฝึกซ้อมก่อนไปแสดงต่อหน้าคณะกรรมการฯ (การประกวดรอบ ๒) การคัดเลือกรอบแรก ผู้ประกวดต้องส่ งคลิปวิดีโอวงดนตรีหรือกิจกรรมที่ส่ งประกวด ไปให้กรรมการตรวจในอินเทอร์เน็ต โดยการแข่งขันแบ่งออกเป็น ๕ ภาคได้แก่ กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะกรรมการจะคัดเลือกการแสดงที่น่าสนใจใน แต่ละภาคเอาไว้จ� ำนวนหนึ่งแล้วจะเชิญทุกวงที่ได้รับคัดเลือกไปแสดงจริงต่อหน้าคณะกรรมการอีกครั้งที่ เวทีกรุงเทพมหานคร วงเพลงพิณอาเซียนเป็นวงหนึ่งที่ได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปแข่งรอบ ๒ ณ โรงแรม ปรินซ์พาเลซ ซึ่งในรอบนี้ผู้เขียนได้เรียบเรียงเพลงใหม่โดยแต่งค� ำร้องเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับประชาคม อาเซียนให้นักดนตรีร้องคลอไปด้วยเพื่อแสดงการสนับสนุนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย ค� ำร้องเพลงพิณอาเซียนที่แข่งขันในรอบที่ ๒ ท� ำนองเพลง ข่า พวกเราเอเชียอยู่ในท้องถิ่นนานมา ทุกชาติพึ่งพาต่างมีสัมพันธ์กลมเกลียว แต่เดิมชาวเราไม่เคยคิดมาเกาะเกี่ยว ยึดเหนี่ยวเกี่ยวกันด้วยสายสัมพันธ์ไมตรี (ดนตรีรับตอนท้าย)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=