ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖
355 ชนก สาคริก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๖ ต่อมาในช่วงปีใหม่ปีหนึ่งเถ้าแก่เจ้าของร้านเล่ากว้างเจียบเซี้ยได้น� ำพิณกู่ฉินตัวหนึ่งมามอบให้เป็น ของขวัญผู้เขียนจึงมีโอกาสได้ลองฝึกดีดพิณโบราณของจีนชนิดนี้ และพบว่าบรรเลงไม่สะดวกนักเพราะผู้ บรรเลงต้องใช้ปลายนิ้วกดสายพิณรีดไปรีดมาบ่อย ๆ ท� ำให้เจ็บมือมากแต่ก็เริ่มจะรู้แนวทางในการบรรเลง พิณกู่ฉินบ้างพอสมควร ในเวลาต่อมามีการท� ำโปรแกรม (Application) ส� ำหรับฝึกดีดพิณกู่ฉินไว้บนเครื่อง คอมพิวเตอร์ iPad ท� ำให้เกิดความสะดวกในการปรับเทียบเสียงและดีดบรรเลงได้โดยไม่เจ็บนิ้วทั้งยังสะดวก ในการพกพาไปมาด้วย ผู้เขียนจึงสามารถบรรเลงพิณกู่ฉินเป็นเพลงไทยและได้สอนวิธีดีดพิณโบราณของ จีนชนิดนี้ให้แก่ลูกศิษย์บางคน จึงเป็นการน� ำเอาพิณของต่างชาติมาสู่วงการดนตรีไทยอีกชนิดหนึ่งแต่ยัง ไม่เคยน� ำพิณกู่ฉินออกบรรเลงกับวงดนตรีไทยจริง ๆ เลยเพราะเครื่องดนตรีชนิดนี้ค่อนข้างหาซื้อยาก ตัวอย่างกลุ่มเด็กนักดนตรีที่ฝึกบรรเลงเพลงไทยด้วยเครื่องดนตรีต่างชาติ ตามที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นนั้นเป็นแนวคิดในการผสมผสานวัฒนธรรมทางดนตรีกับชนชาติอื่น โดยมิให้สูญเสียเอกลักษณ์ของเพลงไทย ครั้นเมื่อใกล้ถึงวาระที่ประเทศไทยจะต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงมีความตื่นตัวทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการที่จะเข้าร่วม ประชาคมอาเซียนดังกล่าว ตัวอย่างเช่น การจัดประกวด Asean Smart Teens โดยกระทรวงศึกษาธิการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=