ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖
354 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 1 Jan-Mar 2013 การพั ฒนาดนตรี ไทยสู่ประชาคมอาเซี ยน ของนิ้วมือเพื่อเปลี่ยนระดับเสียงดนตรีตามระยะสั้นยาว พิณปี่แป๋นั้น ใช้วิธีอุ้มดีดในแนวตั้งไม่ได้วางดีดในแนวนอนเหมือนพิณกู่เจิง และ เนื่องจากพิณปี่แป๋มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับหยดน�้ ำจึงเรียกพิณชนิดนี้ว่า “พิณหยดน�้ ำ” เป็นเครื่องดนตรีต่างชาติอีกชนิดหนึ่งซึ่งผู้เขียนน� ำมา บรรเลงเพลงไทย การน� ำพิณหยดน�้ ำมาบรรเลงเพลงไทยนั้นมีความเป็นมาคือ ผู้เขียนไปพบพิณชนิดนี้แขวนอยู่ที่ร้านเล่ากว้างเจียบเซี้ยซึ่งเคยซื้อ พิณกู่เจิง ประกอบกับเคยเห็นและได้ยินการบรรเลงพิณชนิดนี้มาก่อน ตามสื่อต่าง ๆ แต่ยังไม่เคยเห็นตัวจริงของเครื่องดนตรีชนิดนี้ เมื่อไปพบ เข้าจึงสอบถามราคาและทราบว่าราคาประมาณ ๕,๐๐๐ บาทจึงตัดสินใจซื้อมาลองดีดดูตัวหนึ่ง หลัง จากคิดหาวิธีดีดอยู่ช่วงเวลาหนึ่งจึงพอจะสามารถน� ำ มาดีดบรรเลงเพลงไทยได้ เมื่อมีคนสนใจซื้อพิณหยด น�้ ำมาลองฝึกดีดดูบ้างจึงเกิดวงเครื่องสายไทยผสม “พิณปี่แป๋” ขึ้น และได้น� ำเสนอออกสู่สังคมไทยเป็น ครั้งแรกในรายการชื่อ “ก่อนจะถึงวันจันทร์” ซึ่งเป็น รายการที่แพร่ภาพทางระบบอินเทอร์เน็ต วงการ ดนตรีไทยจึงมีเครื่องดนตรีต่างชาติอีกชนิดหนึ่งเข้า มาร่วมบรรเลง ๖. การศึกษาวิธีดีดพิณกู่ฉิน พิณโบราณของจีนอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “กู่ฉิน” มีสายเพียง ๗ สายและไม่มีหย่องหนุนรองรับสายพิณเหมือน พิณกู่เจิง พิณชนิดนี้มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนาน มากกว่าพิณกู่เจิง และมีวิธีการดีดบรรเลงที่ค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อนมากกว่าพิณกู่เจิง กล่าวคือ ผู้บรรเลงจะต้องใช้นิ้วดีด สายพิณแล้วใช้นิ้วในมืออีกข้างหนึ่งกดรีดสายพิณที่ดีดไปมา ให้เกิดเป็นระดับเสียงสูงต�่ ำต่างกัน ประสาทและสมาธิในการรับฟังเสียงของผู้บรรเลงจึงต้องมีความละเอียด อ่อนคมชัดมากจึงจะสามารถบรรเลงเพลงได้ไพเราะน่าฟัง ดังนั้น จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมดีดบรรเลงพิณกู่ฉิน มากเหมือนกับพิณกู่เจิง นอกจากนั้นราคาของพิณกู่ฉินยังค่อนข้างแพงกว่าพิณกู่เจิงด้วย วงพิณปี่แป๋ ขณะออกรายการ “ก่อนจะถึงวันจันทร์”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=