ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖
353 ชนก สาคริก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๖ นายอดิศักดิ์ เศวตนันทน์ได้ไปชมชุดการบรรเลงพิณกู่เจิงหมู่ ๑๔ คนที่บรรเลงร่วมอยู่ในงานดังกล่าว และเกิดความประทับใจที่เห็นผู้เขียนน� ำเครื่องดนตรีต่างชาติมาบรรเลงเพลงไทยได้อย่างไพเราะน่าฟัง จึงน� ำพิณซีตาร์มามอบให้ตัวหนึ่งโดยบอกว่าซื้อพิณตัวนี้จากอินเดียนานมาแล้วขอมอบให้ไว้ค้นคว้าศึกษา หาวิธีดีดเป็นเพลงไทยบ้าง ผู้เขียนจึงเริ่มศึกษาหาวิธีดีดพิณชนิดนี้จนพอจะสามารถบรรเลงเพลงไทยได้ แล้วสอนให้ลูกศิษย์บางคนลองดีดบรรเลงเพลงไทยดูปรากฏว่ามีความไพเราะน่าฟังเช่นกัน เพลงแรกที่ น� ำมาบรรเลงด้วยพิณซีต้าร์ คือเพลง “แขกเชิญเจ้า” หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักกันในการฟ้อนร� ำที่มีชื่อว่า “ระบ� ำเทพบันเทิง” แต่การเผยแพร่พิณแขกชนิดนี้ในวงการดนตรีไทยมีความยากล� ำบากกว่าพิณกู่เจิง และ พิณพม่า เนื่องจากไม่สามารถหาซื้อเครื่องดนตรีมาฝึกซ้อมได้ นอกจากนั้นระบบเสียงของพิณซีตาร์ ยังมีความซับซ้อนมากกว่าพิณชนิดอื่นท� ำให้ยากที่จะดีดบรรเลง ดังนั้น จึงมีลูกศิษย์เพียงบางคน เท่านั้นที่สามารถบรรเลงพิณชนิดนี้ได้ พิณซีตาร์นั้นเป็นพิณโบราณของอินเดียที่มี ประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนานมาก ทั้งยัง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแนวคิดทางศาสนา ฮินดูด้วยเชื่อกันว่าดัดแปลงมาจาก “พิณนก ยูง” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจ� ำตัวของเทพใน ศาสนาฮินดูองค์หนึ่งคือ พระสุรัสวดี พิณชนิดนี้ แบ่งออกเป็นหลายตระกูลตามลักษณะและราย ละเอียดของตัวพิณที่แตกต่างกัน แต่ที่นิยมและ รู้จักกันดีในปัจจุบันมีอยู่เพียง ๒ ชนิดคือ พิณ วีณา และ พิณซีตาร์ มีข้อที่ใช้สังเกตจดจ� ำคือ พิณวีณานั้นจะมีกระเปาะกลม ๆ ซึ่งท� ำด้วยลูกน�้ ำเต้าขนาดใหญ่ส� ำหรับขยายเสียง ๒ ลูกอยู่ด้านบนและ ด้านล่างของตัวพิณ โดยกระเปาะด้านล่างมีขนาดใหญ่กว่ากระเปาะด้านบน ส่วนพิณซีตาร์ไม่มีกระเปาะ ส่วนขยายเสียงด้านบน ปัจจุบันพิณซีตาร์นี้จึงเป็นเครื่องดนตรีต่างชาติอีกชิ้นหนึ่งที่ผู้เขียนเป็นคนริเริ่มน� ำ มาบรรเลงเพลงไทย ๕. การศึกษาวิธีดีดพิณ “ปี่แป๋” เครื่องดนตรีของจีนที่เรียกว่า “ปี่แป๋” หรือ “ผีผา (Pipa) นั้น เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลพิณ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและเก่าแก่มากเช่นเดียวกับพิณกู่เจิง พิณชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าพิณกู่เจิง ใช้สายส� ำหรับดีดบรรเลงเพียง ๔ สาย โดยมีแนวหย่องไม้ลดหลั่นกันลงมาตามแนวดิ่งเพื่อรองรับการกด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=