ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

352 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 1 Jan-Mar 2013 การพั ฒนาดนตรี ไทยสู่ประชาคมอาเซี ยน ชนิดนี้มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปีกนกจึงเรียกว่า “พิณปีกนก” เป็นเครื่องดนตรีต่างชาติอีกชนิดหนึ่งที่ได้ ริเริ่มน� ำมาบรรเลงเพลงไทย ครั้งนี้ผู้เขียนไม่ต้องใช้เวลาศึกษาหาวิธีดีดนานนักเพราะใช้แนวการบรรเลง แบบเดียวกับพิณพม่าหรือ “ซองก็อก” เนื่องจากรูปทรงและลักษณะการเรียงสายพิณคล้ายคลึงกันมาก ทีเดียวเมื่อรู้วิธีดีดแล้วผู้เขียนจึงถ่ายทอดให้ลูกศิษย์บรรเลงกับเครื่องดนตรีไทยอื่น ๆ ได้อย่างไพเราะน่าฟัง เพลงแรกที่น� ำมาบรรเลงด้วยพิณปีกนกนั้นคือเพลง “ลาวจ้อย” หรือเพลงไทยส� ำเนียงลาวเพลงหนึ่งในชุด “ตับพระลอตามไก่” หลังจากนั้นจึงได้น� ำออกบรรเลงในโอกาสต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ภาพเด็กนักดนตรีไทยก� ำลังฝึกดีดพิณปีกนก จากการค้นคว้าประวัติความเป็นมาของพิณปีกนกหรือ Byat Saung หลายแห่งรวมทั้งใน อินเทอร์เน็ตด้วยจึงได้ทราบเรื่องราวความเป็นมาของพิณชนิดนี้แต่ไม่มากนัก ชาวพม่าเองก็ไม่ค่อยมีข้อมูล ของพิณชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีข้อมูลเกี่ยวกับ “พิณรูปเรือหงส์” หรือ Saung Gauk เสียเป็นส่วนมาก จึงท� ำให้ น่าคิดว่าพิณปีกนกนี้อาจจะพัฒนามาจากพิณของชาวยุโรปที่เรียกว่า Harp นั่นเอง เพราะตัวพิณมีรูปร่าง คล้ายกับพิณของชาวเซลติกในยุโรปมากทีเดียว ทั้งนี้ เพราะอังกฤษเคยเข้ามาปกครองประเทศพม่าอยู่นาน พอสมควร อย่างไรก็ดี พิณปีกนกได้พัฒนามาบรรเลงร่วมกับวงดนตรีไทยแล้วในปัจจุบัน ๔. การน� ำพิณซีตาร์มาบรรเลงเพลงไทย เครื่องดนตรีอีกชิ้นหนึ่งซึ่งผู้เขียนน� ำมาบรรเลง เพลงไทยคือพิณโบราณของอินเดียที่รู้จักกันในชื่อ “ซีตาร์” (Sitar) พิณชนิดนี้ได้มาจากนายอดิศักดิ์ เศวตนันทน์ หลังจากการจัดงานมหกรรมดนตรีศรีศตวรรษเพื่อฉลอง วาระครบรอบ “ร้อยปีเกิด” ของหลวงประดิษฐไพเราะโดย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=