ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

351 ชนก สาคริก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๖ วิธีดีดพิณพม่า ๑๒ กระบวนท่าที่ผู้เขียนคิดขึ้น ๑. กงจักรหมุนวน ๒. เหนี่ยวสายธนู ๓. หงส์ขยับปีก ๔. ดิน-น�้ ำ-ลม-ไฟ ๕. เด็ดดอกไม้ ๖. ไต่ภูผา ๗. นกยูงร� ำแพน ๘. สายฟ้าฟาด ๙. พญานาคตวัดหาง ๑๐. หยาดน�้ ำค้าง ๑๑. ลมร� ำเพย ๑๒. สะกดธรณี ผู้เขียนได้ถ่ายทอดวิธีดีดบรรเลงพิณพม่าให้ลูกศิษย์ดนตรีไว้หลายคน และได้น� ำออกแสดงต่อ สาธารณชนครั้งแรก ณ วัดเทพศิรินทราวาส ในงานสวดศพของคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง หลังจากนั้นจึง น� ำออกบรรเลงตามโอกาสต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ประวัติความเป็นมาของพิณซองก็อกนั้นน่าสนใจ ตรงที่พิณดังกล่าวมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพิณโบราณของ อียิปต์และพิณของอารยธรรมอื่น ๆ ในแถบเอเชียกลางมาก ทีเดียว พิณชนิดนี้พม่าอาจจะได้รับแนวคิดในการประดิษฐ์ ผ่านมาทางเส้นทางสายไหม จากเอเชียกลางมายังจีนแล้ว ต่อมายังพม่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันพิณซองก็อกก็ เป็นเครื่องดนตรีต่างชาติอีกชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปใน วงการดนตรีไทย ๓. การน� ำพิณปีกนกมาบรรเลงเพลงไทย เครื่ิองดนตรีตระกูล “พิณ” นั้นมีปรากฏให้พบเห็นกันในวัฒนธรรมดนตรีหลากหลายทั่วโลก มาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล แม้ว่าพิณเหล่านั้นจะมีรูปร่างลักษณะที่ผิดแผกแตกต่างกันไปตามแนวคิดและ รสนิยมด้านศิลปะของช่างดนตรีในแต่ละชนชาติแต่ก็มีลักษณะโดยรวมที่เหมือนกันอยู่ประการหนึ่งคือ เป็นเครื่องดนตรีที่มี “สายพิณ” ขึงตึงและมี “กระพุ้งพิณ” หรือส่วนที่ท� ำหน้าที่เป็นล� ำโพงขยายเสียงเวลา บรรเลงจะใช้นิ้วมือหรือวัสดุแข็งชิ้นเล็ก ๆ เขี่ยหรือปัดสายพิณให้เกิดเป็นท� ำนองเพลง มีพิณที่มีรูปร่างสวยงามแปลกตาและมีกระแสเสียงไพเราะน่าฟังอีกตัวหนึ่งซึ่งผู้เขียนได้มา จากประเทศพม่าโดยนางรติรมย์ ชวิตรานุรักษ์ ซึ่งเป็นผู้ปกครองของลูกศิษย์อีกคนหนึ่งซื้อมาฝากจาก “ตลาดสก็อต” ในเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า พิณตัวนี้ไม่มีชื่อเรียกเป็นภาษาอื่นนอกจากค� ำสะกดเป็น ค� ำภาษาอังกฤษว่า Byat Saung (อ่านจากแคตาล็อกที่ทางร้านแนบมาในถุงใส่เครื่องดนตรี) เนื่องจากพิณ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=