ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖
350 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 1 Jan-Mar 2013 การพั ฒนาดนตรี ไทยสู่ประชาคมอาเซี ยน และยังไม่มีนักดนตรีจีนที่มีความรู้ด้านนี้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเหมือนเช่นในยุคปัจจุบันจึงจ� ำเป็น ต้องคิดหาวิธีดีดบรรเลงด้วยตนเองซึ่งใช้เวลานานประมาณ ๖ เดือนจึงคิดวิธีดีดพิณกู่เจิงแบบไทยขึ้นมา ได้ส� ำเร็จและมีโอกาสน� ำออกแสดงต่อหน้าสาธารณชนตามวาระที่ส� ำคัญ ๆ ดังนี้ ครั้งแรก แสดงที่ศูนย์ สังคีตศิลป์ ตึกธนาคาร กรุงเทพ สาขาผ่านฟ้า (นักดนตรี ๓ คน) ครั้งที่ ๒ แสด งที่ สถ านี โ ทรทัศน์ สีช่ อ ง ๔ บางขุนพรหม (ภาพด้านซ้าย) ในรายการ “สังคีตย์ภิรมย์” (นักดนตรี ๕ คน) ครั้งที่ ๓ แสดงที่โรงละครแห่งชาติวาระครบรอบ “ร้อยปีเกิด” หลวงประดิษฐไพเราะฯ (นักดนตรี ๑๔ คน) หลังจากนั้นยังได้น� ำพิณชนิดนี้ออกแสดงในโอกาสต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ๒. การน� ำพิณพม่ามาบรรเลงเพลงไทย เครื่องดนตรีต่างชาติชิ้นที่ ๒ ที่ริเริ่มน� ำมาบรรเลงเพลงไทยคือพิณโบราณของประเทศพม่าที่เรียก ว่า “ซองก็อก” (Saung Gauk) มีรูปร่างคล้ายกับล� ำเรือ ตรงบริเวณคอพิณมีลักษณะโค้งงอนขึ้นไปเป็นรูป ครึ่งวงกลมคล้ายคันธนูใช้สายที่ท� ำด้วยเชือกมีขนาดลดหลั่นกันจ� ำนวน ๑๖ สายส� ำหรับขึงดีดบรรเลง ประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ผู้เขียนได้พิณซองก็อกมาจากนางพัชรี ประคองพันธ์ ซึ่งเป็นผู้ปกครอง ของลูกศิษย์ของผู้เขียนคนหนึ่ง เธอเล่าว่าได้พิณชนิดนี้มาจากเพื่อนชาวต่างประเทศซึ่งไปท� ำงานอยู่ใน ประเทศพม่าซื้อมาฝาก จึงน� ำพิณตัวนั้นมาให้ลองศึกษาดูผู้เขียนจึงค้นคว้าหาวิธีดีดพิณซองก็อกจนสามารถ ดีดบรรเลงเป็นเพลงไทยได้และคิดรูปแบบวิธีดีดเอาไว้ ๑๒ รูปแบบด้วยกัน องค์ประกอบของพิณพม่าแบ่งออกเป็น ๕ ส่วนคือ ๑. ขาตั้ง ส� ำหรับวางตัวพิณ ๒. ตัวพิณพม่ามีรูปร่างคล้ายล� ำเรือ จึงเรียกว่า “พิณเรือหงส์” ท� ำหน้าที่ขยายเสียง ๓. สายพิณ ท� ำด้วยเชือกขนาดลดหลั่นกันมี ๑๖ สาย ๔. ภู่เชือกสีแดง ส� ำหรับดึงรั้งเพื่อปรับระดับความตึงของสายพิณ ๕. คอพิณ มีลักษณะโค้งงอนคล้ายคันธนู
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=