ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖
349 ชนก สาคริก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๖ ไว้ออกมาสังหารศัตรูได้ราวกับห่าฝน ในยามปรกตินั้น จอมยุทธสตรีผู้นี้จะแฝงตัวอยู่ในสภาพของกุลสตรีที่ สุภาพเรียบร้อย นุ่มนวล และอ่อนแอ เธอผู้นี้จะนั่งดีด พิณอยู่ในสวนอย่างไพเราะเพราะพริ้ง แต่ในยามกลาง คืนเธอจะแต่งชุดด� ำแอบออกไปผาดโผนปราบปราม คนชั่วในยุทธจักรด้วยวิทยายุทธอันล�้ ำเลิศ นอกจาก จะสนุกสนานไปกับเรื่องราวในภาพยนตร์แล้วผู้เขียน ยังชื่นชอบเสียงอันไพเราะน่าฟังและจดจ� ำลักษณะ ของพิณตัวนั้นได้ติดตาทีเดียว รูปร่างของพิณคล้ายกับล� ำต้นกล้วยผ่าซีกผิวด้านบนอยู่ในสภาพโค้งงอมีสาย พิณขึงเรียงรายอยู่เต็มไปหมด เวลาดีดบรรเลงจะใช้นิ้วมือกรีดกรายไปมาบนสายพิณอย่างอ่อนช้อยนุ่มนวล จนเกิดเป็นเสียงที่ระรื่นอ่อนหวานคล้ายกับเสียงน�้ ำไหลเลยทีเดียวแต่ในยามที่ต่อสู้กับศัตรูพิณตัวนี้จะกลาย เป็นอาวุธที่ร้ายกาจที่เธอผู้นี้ใช้ต่อกรกับเหล่าร้ายใจพาล หลังจากชมภาพยนตร์จีนเรื่องดังกล่าวแล้ว ผู้เขียนได้ติดตามค้นหาพิณชนิดนั้นมาโดยตลอดแต่ไม่ พบ จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐ จึงได้ไปพบกับพิณชนิดนี้ที่ร้านดนตรีจีนเล็ก ๆ ร้าน หนึ่งในถนน “แปลงนาม” ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมต่อ ระหว่างถนนเยาวราชกับถนนเจริญกรุง ร้านนี้มีชื่อว่า “เล่ากว้างเจียบเซี้ย” (ปัจจุบันยังเปิดกิจการอยู่) จึงซื้อ พิณจีนชนิดนี้มาตัวหนึ่งในราคา ๑,๖๐๐ บาท เป็นพิณ ขนาด ๑๖ สาย ดังที่แสดงไว้ในภาพทางด้านขวามือ ตอนที่ซื้อได้ถามเจ้าของร้านด้วยความอยากรู้ว่าพิณชนิดนี้เรียกว่าอะไร เขาบอกว่ามี ๒ ชื่อคือ ในภาษาแต้จิ๋วออกเสียงว่า “โกวเจ็ง” ส่วนภาษาจีนกลางออกเสียงพยางค์เดียวว่า “เจิง” หรือค� ำเต็ม ว่า “กู่เจิง” แล้วอธิบายต่อไปว่า ค� ำว่า “กู่” หรือ “โกว” ในภาษาจีนนั้นหมายถึงความเก่าแก่โบราณ ส่วน ค� ำว่า “เจ็ง” หรือ “เจิง” นั้นหมายถึงเครื่องดนตรี ดังนั้น ค� ำว่า “กู่เจิง” จึงหมายถึงพิณโบราณหรือพิณที่ มีประวัติความเป็นมายาวนานนั่นเอง ซึ่งก็ดูจะสมจริงเพราะเท่าที่ค้นคว้าและศึกษามา พิณชนิดนี้มีปรากฏ มานานตั้งแต่ก่อนการสร้างก� ำแพงเมืองจีน หลังจากได้พิณกู่เจิงมาแล้วผู้เขียนได้ศึกษาหาวิธีดีดบรรเลงพิณชนิดนี้ด้วยตนเองอยู่ระยะหนึ่ง และเนื่องจากในช่วงนั้นยังไม่มีระบบอินเทอร์เน็ตให้ค้นคว้าศึกษารวมทั้งประเทศจีนเองก็ยังไม่เปิดประเทศ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=