ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖
348 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 1 Jan-Mar 2013 การพั ฒนาดนตรี ไทยสู่ประชาคมอาเซี ยน ๑. ราชอาณาจักรไทย ๖. มาเลเซีย ๒. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๗. สาธารณรัฐสิงคโปร์ ๓. สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ๘. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๔. ราชอาณาจักรกัมพูชา ๙. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๕. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๑๐. บรูไนดารุสซาลาม การรวมตัวของกลุ่มประชาคมอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศที่กล่าวนามไปนั้นก� ำหนดไว้ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ มีจุดมุ่งหมายส� ำคัญที่ถือเป็นเสาหลักใหญ่ร่วมกัน ๓ ประการคือ ๑. การร่วมมือทางเศรษฐกิจ ๒. การร่วมมือทางด้านความมั่นคงในภูมิภาค ๓. การร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรม ดังนั้น ทุกประเทศรวมทั้งชาติไทยของเราจึงก� ำลังตื่นตัวเพื่อเตรียมประชาชนในชาติให้มีความ พร้อมที่จะเข้าสู่ความร่วมมือตามเสาหลักทั้ง ๓ ประการดังกล่าว ในฐานะคนไทยคนหนึ่งเห็นว่าการที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมในกลุ่มประชาคมอาเซียนนั้นมีความ จ� ำเป็น แต่ก็พิจารณาเห็นว่าการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนมีทั้งด้านดีและด้านไม่ดีคือ หากรับเอาแต่ วัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาโดยไม่คิดที่จะเผยแพร่หรือรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ ไทยก็จะเป็นฝ่ายสูญเสีย ความเป็นตัวของเราเองไปในที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงควรใช้แนวคิดที่จะ “ประสานวัฒนธรรม” มากกว่าที่จะ “รับเอาวัฒนธรรม” เข้ามาเพียงด้านเดียว ในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่า “เอกลักษณ์” และ “ภูมิปัญญา” ของความเป็นดนตรีไทยนั้นอยู่ที่ท� ำนองเพลง หาใช่ที่ตัวของเครื่องดนตรีไม่ การที่จะประสานวัฒนธรรม ทางดนตรีระหว่างชนชาติในประชาคมอาเซียนจึงควรเน้นที่ท� ำนองเพลงไทยเป็นหลัก เช่น อาจจะใช้ เครื่องดนตรีของต่างชาติมาบรรเลงแทนเครื่องดนตรีไทย ผู้เขียนจึงเริ่มศึกษาและน� ำเครื่องดนตรีต่างชาติ หลายชนิดด้วยกันมาบรรเลงเพลงไทย เครื่องดนตรีต่างชาติที่น� ำมาบรรเลงเพลงไทย ผู้เขียนได้ศึกษาและเรียนรู้วิธีการน� ำเครื่องดนตรีต่างชาติมาบรรเลงเพลงไทยนานมาแล้วโดยเริ่ม ต้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ มีล� ำดับความเป็นมาดังนี้ ๑. การน� ำพิณจีนโบราณมาบรรเลงเพลงไทย ในยุคที่ภาพยนตร์จีนแนวก� ำลังภายในเป็นที่นิยมกันมากในเมืองไทยนั้นมีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งซึ่ง นางเอกเป็นจอมยุทธ์ผู้ใช้พิณโบราณของจีนเป็นอาวุธในการต่อสู้ พิณดังกล่าวสามารถยิงอาวุธลับที่ซ่อนเอา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=