ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๖ การพัฒนาดนตรีไทยสู่ประชาคมอาเซียน ชนก สาคริก ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ ประชาคมอาเซียนเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้จ� ำนวน ๑๐ ประเทศด้วยกัน จุดมุ่งหมายส� ำคัญของการร่วมมือของกลุ่มประชาคมอาเซียนก็คือ การร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ, ความมั่นคง และศิลปวัฒนธรรม ผู้เขียนเห็นว่าการที่จะประสาน หรือแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีหรือแสดง ความมีมิตรภาพนั้นก็คือการที่รู้จักน� ำเอาเครื่องดนตรีของต่างชาติมาร่วมบรรเลงในวงดนตรีไทยบ้าง โดยยังคงรักษาท่วงท� ำนองเพลงไทยที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเราเอาไว้ ปัจจุบันจึงปรากฏวงดนตรี ไทยรูปแบบใหม่ที่น� ำเอาเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น พิณกู่เจิง (Gu-Zheng) พิณดานโบ (Dan-Bau) พิณซองก็อก (Saung-Gauk) พิณซีตาร์ (Sitar) และ พิณปี่แป๋/ผีผา (Pipa) เข้ามาร่วมบรรเลง ด้วยหลายวง เป็นการเพิ่มสีสันและความไพเราะที่แปลกใหม่ให้กับวงการดนตรีไทยทั้งยังเป็นการ น้อมสนองพระราชด� ำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันที่พระราชทานไว้ว่า “การ รักษาวัฒนธรรมคือการรักษาชาติ” ค� ำส� ำคัญ : ประชาคมอาเซียน, พิณกู่เจิง, พิณดานโบ, พิณซองก็อก, พิณซีตาร์, พิณปี่แป๋ ธงชาติของ ๑๐ ประเทศที่จะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ค� ำน� ำ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ไม่มีใครสามารถยืนหยัดอยู่เพียงล� ำพังคนเดียวได้ ทุกคนต่างจ� ำเป็นต้อง พึ่งพาอาศัยผู้อื่นเช่น บุคคลในครอบครัว ญาติสนิท หรือมิตรสหาย อยู่เสมอ ประเทศชาติก็ท� ำนองเดียวกัน หากไม่สร้างสัมพันธภาพระหว่างมิตรประเทศหรือรวมกลุ่มกันไว้อาจอยู่ในอันตรายได้ ดังนั้น แนวคิดในเรื่อง “ประชาคมอาเซียน” จึงถือก� ำเนิดขึ้นโดยเป็นการตกลงที่จะรวมตัวกันระหว่างกลุ่มประเทศในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ จ� ำนวน ๑๐ ประเทศด้วยกันคือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=