ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๖

The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 2 April-June 2013 86 สวัสดิการสังคมในประเทศไทย : กรณีศึกษาสวัสดิการสังคมในบริบทประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนประกอบด วยความร วมมือในด าน ต าง ๆ ๖ ด าน ดังนี้ ๑ . การพัฒนาทรัพยากรมนุษย (human development) ให ความสําคัญเรื่องการศึกษา การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย ส งเสริมการจ างงานที่เหมาะสม ส งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ การอํานวยความสะดวกในการเข าถึงวิทยาศาสตร และเทคโนโลยีเชิงประยุกต เสริมสร างทักษะในการ ประกอบการสําหรับสตรี เยาวชน ผู สูงอายุ และผู พิการ พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ ๒ . การคุ มครองและสวัสดิการสังคม (social welfare and protection) ได แก การขจัด ความยากจน เครือข ายความปลอดภัยทางสังคม และความคุ มกันจากผลกระทบด านลบจากการ รวมตัวอาเซียนและโลกาภิวัตน ส งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด านอาหาร การเข าถึงการดูแล สุขภาพ และส งเสริมการดํารงชีวิตที่มีสุขภาพ การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต อ ปลอดยาเสพติด การสร างรัฐที่พร อมรับกับภัยพิบัติ และประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ๓ . สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (social justice and rights) ได แก การส งเสริมและ คุ มครองสิทธิและสวัสดิการสําหรับสตรี เยาวชน ผู สูงอายุ และผู พิการ การคุ มครองและส งเสริมแรงงาน โยกย ายถิ่นฐาน ส งเสริมความรับผิดชอบต อสังคมขององค กรธุรกิจ ๔ . ความยั่งยืนด านสิ่งแวดล อม (environmental sustainability) ได แก การจัดการป ญหา สิ่งแวดล อมของโลก การจัดการและการป องกันป ญหามลพิษทางสิ่งแวดล อมข ามแดน การส งเสริมการ พัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด านสิ่งแวดล อมและการมีส วนร วมของประชาชน การส งเสริมเทคโนโลยี ด านสิ่งแวดล อม การส งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดํารงชีวิตในเขตเมือง การประสานนโยบายด าน สิ่งแวดล อมและฐานข อมูล การส งเสริมการใช ทรัพยากรชายฝ  งและทรัพยากรทางทะเลอย างยั่งยืน การส งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ อย างยั่งยืน การส งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรนํ้าจืด การตอบสนองต อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ และการจัดการผลกระทบ ส งเสริมการบริหารจัดการป าไม อย างยั่งยืน ๕ . การสร างอัตลักษณ อาเซียน (building an ASEAN identity) ส งเสริมการตระหนักรับรู เกี่ยวกับอาเซียนและความรู สึกของการเป นประชาคม การส งเสริมและการอนุรักษ มรดกทางวัฒนธรรม ของอาเซียน ส งเสริมการสร างสรรค ด านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม การมีส วนเกี่ยวข องกับชุมชน (ASEAN 2009, 2011a, b, c) ๖ . การลดช องว างทางการพัฒนา (narrowing the development gap) 74-93 Mac9.indd 86 10/8/13 7:17 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=