ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๖

The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 2 April-June 2013 202 การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู สถานศึกษา : ป ญหาและแนวทางแก ป ญหาในการจัดการเรียนรู หากผู บริหารสถานศึกษาดูแลส งเสริมให ครูมีการเรียนรู และพัฒนาตนเองอย างต อเนื่อง เหมาะสมกับระดับความสามารถของตน ครูแต ละคนก็จะมีการพัฒนาตนเองขึ้นไปเรื่อย ๆ ๕ . ๓ การส งเสริมการนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช ในวิถีชีวิต ดังได กล าวไว แล วข างต นว า การพัฒนาผู เรียนให เกิดอุปนิสัยพอเพียงได นั้น ไม ได มาจาก การเรียนรู ในห องเรียนหรือการทํากิจกรรมต าง ๆ เท านั้น ผู เรียนมีการเรียนรู จากสิ่งแวดล อมรอบตัวด วย แม ครูและผู บริหารจะส งเสริมผู เรียนมากเพียงใด แต หากตัวครูและผู บริหารไม ได ปฏิบัติตนตามที่สอน ก็จะส งผลต อการเรียนรู ของผู เรียน อีกประการหนึ่ง หากครูผู สอนมีการปฏิบัติตนตามที่สอน นอกจากจะ เกิดประโยชน แก ตนเองแล ว ครูยังเกิดการเรียนรู จากประสบการณ การปฏิบัติ อันจะทําให มีความ เข าใจในปรัชญาฯ มากขึ้น และส งผลต อการสอนให ดีขึ้นได ด วย ดังนั้น ผู บริหารสถานศึกษาและครู จึงต องมีการพัฒนาความรู ความเข าใจในปรัชญาฯ และฝ กฝนการนําปรัชญาฯ ไปใช ในวิถีชีวิตของตน อย างต อเนื่องด วย ๕ . ๔ การบริหารจัดการเพื่อส งเสริมการปฏิบัติงานของครู ดังได กล าวไว แล วว า สิ่งอํานวยความสะดวกทั้งหลายสามารถช วยให ครูปฏิบัติงานได สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น ผู บริหารสถานศึกษาจึงควรให การดูแล จัดสรรทรัพยากร วัสดุ อุปกรณ และเครื่องอํานวยความสะดวกต าง ๆ ให แก ครูอย างเพียงพอ รวมทั้งมีการบริหารจัดการ ทางด านวิชาการให เอื้อต อการทํางานของครู เช น การจัดเวลา สถานที่ วิทยากร ผู ให คําแนะนํา รวมทั้งการจัดระบบนิเทศให ความช วยเหลือครูอย างเหมาะสมและเพียงพอ การบริหารจัดการ ทั้งทางด านวิชาการ การเงิน บุคลากร และสถานที่ดังกล าว เป นป จจัยที่จะช วยให ครูสามารถ พัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาผู เรียนได อย างมีประสิทธิภาพบรรลุจุดมุ งหมายที่ตั้งไว อันที่จริง แนวทางและข อเสนอแนะต าง ๆ ในการพัฒนาครู เพื่อแก ป ญหาการจัดการเรียนรู ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาดังกล าวมานั้น มิใช จะเป นประโยชน ต อการสอนปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงเท านั้น เพราะประเด็นหลายประเด็นเป นประเด็นร วมทางด านการสอน ที่ไม ว าจะ สอนเรื่องอะไรก็เผชิญป ญหาในลักษณะเดียวกันหรือคล ายคลึงกัน ดังนั้น ประเด็นป ญหาและแนวทาง แก ป ญหาที่นําเสนอในบทความนี้จึงเป นประโยชน ต อการสอนสาระอื่น ๆ นอกเหนือจากเรื่องปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงด วย 172-204 Mac9.indd 202 10/8/13 7:27 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=