สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บิ สฟอสโฟเนตและการตายของกระดูกขากรรไกรบางส่วน 92 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 บิสฟอสโฟเนตเป็นสารสังเคราะห์ในกลุ่มสารอนินทรีย์ไพโรฟอสเฟตที่มีโครงสร้างหลักเป็น ออกซิเจนและฟอสฟอรัส สารอนินทรีย์ไพโรฟอสเฟตใช้ครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ประมาณ ๔๐ กว่าปีมานี้ โดยใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและปุ๋ยเคมี ต่อมาจึงมีการศึกษาในสิ่งมีชีวิต โดยสร้างสารอนุพันธ์บิสฟอสโฟเนต ที่มีไพโรฟอสเฟตเป็นสารต้นตระกูล แต่มีโครงสร้างหลักคือคาร์บอนและฟอสฟอรัส บิสฟอสโฟเนตทนต่อ การย่อยสลายจากเอนไซม์ และสามารถจับกับสารไฮดรอกซิอะพาไทต์ ( hydroxyapatite ) ได้ดี บิสฟอสโฟเนต มีค่าครึ่งชีวิต ( half life ) ในกระแสเลือดสั้นมาก คือ ประมาณ ๓๐ นาที ถึง ๒ ชั่วโมง (Martin and Grin 2000: 130-132) แต่เมื่อยึดและสะสมในกระดูกจะอยู่ได้ถึง๑๐ปี (MartinandGrin2000:130-132),(Sparidansetal. 1998: 206-213) ซึ่งมีเหตุผลอธิบายได้ว่า แม้เมื่อได้รับบิสฟอสโฟเนตทางหลอดเลือดด� ำในช่วงเวลาสั้น ๆ ( short course of intravenous injection ) ก็ยังมีประสิทธิผลเป็นเวลานานในการรักษาโรคพาเจ็ต ( Paget ’ s disease ) (Martin and Grin 2000: 130-132) ส่วนที่เหลือจะถูกก� ำจัดออกทางปัสสาวะ (Martin and Grin 2000: 130- 132), (Sparidans et al. 1998: 206-213), (Licata AA 2005: 668-77) บิสฟอสโฟเนตมีสมบัติส� ำคัญคือ ท� ำให้ osteoclast ตาย ( apoptosis ) osteoclast มีหน้าที่สลายกระดูกในกระบวนการสร้างกระดูก บิสฟอสโฟเนตยัง ยับยั้ง osteoblast proliferation (Marxet al. 2005: 1567-75), (Wanget al. 2003:1104-1107), (Fleisch2003: s142-146) และเชื่อว่าสามารถยับยั้งการสร้างหลอดเลือด ( antiangiogenesis ) (Santini et al. 2003: 2893-7, Wood et al. 2002: 1055-61) ดังนั้น ผู้ป่วยที่ได้รับบิสฟอสโฟเนตจะมีกระดูกแข็ง ละลายยาก แต่มีเลือดมา เลี้ยงน้อยลงท� ำให้ง่ายแก่การเกิดการตายของกระดูกขากรรไกรบางส่วน อันเป็นผลเนื่องจากการใช้บิสฟอส โฟเนต ยาบิสฟอสโฟเนตที่น� ำมาใช้แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีไนโตรเจน ( nitrogen containing ) ซึ่งมีประสิทธิภาพการรักษาสูง และกลุ่มที่ไม่มีไนโตรเจน ( non nitrogen ) ผลด้านตรงข้าม ( adverse effect ) ของยากลุ่มนี้ก็คือเกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร การอักเสบ การกัดกร่อนหลอดอาหาร (เป็น ปัญหาหลักของกลุ่มที่มีไนโตรเจน) นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีไข้คล้ายไข้หวัด และผลด้านตรงข้ามที่ส� ำคัญคือ กระดูกขากรรไกรบางส่วนตาย ซึ่งเกิดแก่ขากรรไกรล่างได้บ่อยกว่าขากรรไกรบนถึง ๒ เท่า บริเวณขากรรไกร ล่างที่พบบ่อยคือด้านลิ้นเหนือสันกระดูกที่กล้ามเนื้อไมโลไฮออยด์ยึด ( mylohyoid ridge ) (Robinson NA 2004: 48s-49s) และร้อยละ ๖๐ ของการตายนี้เกิดตามหลังการท� ำศัลยกรรมในปาก เช่น ถอนฟัน ผ่าเหงือก ใส่รากเทียม เนื่องจากสมบัติส� ำคัญของกลุ่มยาบิสฟอสโฟเนตในการท� ำให้กระดูกแข็ง ละลายยาก ป้องกัน การหักของกระดูก ดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันนี้จึงมีการใช้ยาในกลุ่มบิสฟอสโฟเนตเพื่อรักษาโรคกระดูกพรุน ( osteoporosis ) หลังหมดประจ� ำเดือน ป้องกันกระดูกพรุนในผู้ป่วยที่มีความจ� ำเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์ เป็นประจ� ำ หรือใช้ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งบางชนิด เช่น multiple myeloma , มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูก หมาก มะเร็งปอด ที่แพร่กระจายไปกระดูก เพื่อลดอาการปวดกระดูก ลดอัตราการเกิดแคลเซียมสูงใน กระแสเลือด และลดอัตราการเกิดกระดูกหัก รวมทั้งโรคพาเจ็ตด้วย การใช้ยาบิสฟอสโฟเนตท� ำได้ ๒ วิธี คือ การกิน และฉีดเข้าทางหลอดเลือดด� ำ การจะใช้วิธีใดขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์และชนิดของยา และ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=