สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
91 ใจนุช จงรั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ บิสฟอสโฟเนตและการตายของกระดูกขากรรไกรบางส่วน * ใจนุช จงรักษ์ ภาคีสมาชิก ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ การตายของกระดูกขากรรไกรบางส่วนจากบิสฟอสโฟเนตเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ มากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากความจ� ำเป็นของการใช้บิสฟอสโฟเนตเพื่อรักษาหรือป้องกันโรคบางชนิด บิสฟอสโฟเนตที่ได้รับโดยการฉีดท� ำให้เกิดการตายของกระดูกขากรรไกรได้บ่อยกว่าการกิน และส่วน ใหญ่จะเกิดตามหลังการถอนฟัน หรือการท� ำงานทันตกรรมที่ท� ำให้เกิดแผล และเมื่อเกิดการตายของ กระดูกขากรรไกรแล้ว การรักษาท� ำได้ยาก ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่แน่นอน ดังนั้น การป้องกัน มิให้เกิด หรือการรักษาแต่เนิ่น ๆ เป็นวิธีที่ดีกว่า ด้วยเหตุนี้ทันตแพทย์จึงมีบทบาทหลัก ด้วยการ ซักประวัติ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของกระดูกจากภาพรังสี การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยก่อนท� ำงาน ทันตกรรม ทั้งนี้โดยความร่วมมือจากแพทย์ผู้ให้การรักษาโรคของผู้ป่วย และตัวผู้ป่วยเอง เป็น ก� ำลังส� ำคัญ ค� ำส� ำคัญ : บิสฟอสโฟเนต, การตายของกระดูกขากรรไกรบางส่วน * บรรยายในที่ประชุมส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ค� ำน� ำ เมื่อกล่าวถึงกระดูกขากรรไกรตายเนื่องจากรังสี หรือ osteoradionecrosis of jaws ( ORN ) ก็อาจเป็นที่เข้าใจกันดีว่า เป็นการตายของกระดูกขากรรไกรอันเป็นผลไม่พึงประสงค์จากการใช้รังสี รักษามะเร็งบริเวณศีรษะและล� ำคอ ซึ่งจ� ำเป็นต้องใช้การร่วมรักษาของแพทย์และทันตแพทย์ และมี รายงานผู้ป่วยมานานแล้ว (Thorn et al. 2000: 1088-93), (Marx and Johnson 1987: 379-90), (Widmark et al. 1989: 302-06), (Curi and Dib 1997: 540-44), (Reuther et al. 2003: 289-95) แต่หากกล่าวถึง การตายของกระดูกขากรรไกรอันเป็นผลเนื่องจากการใช้บิสฟอสโฟเนต ( bisphosphonates - related osteonecrosis of the jaws หรือเรียกย่อว่า BRONJ ) ในการรักษาหรือป้องกันพยาธิสภาพบางชนิด อาจยังมิได้เข้าใจมากนัก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจสาเหตุ การด� ำเนินโรค ความเกี่ยวข้อง หรือผลกระทบของการใช้บิสฟอสโฟเนตต่องานทันตกรรม การควบคุม การปฏิบัติตนของผู้ป่วย ตลอดทั้ง การแนะน� ำทางทันตกรรมต่อผู้ป่วย โดยมีรายงานผู้ป่วย ๑ รายด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=