สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
บึ งประดิ ษฐ์กั บการบ� ำบั ดน�้ ำเสี ย 2 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 อาศัยกระบวนการบ� ำบัดแบบผสมผสานทั้งการบ� ำบัดทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพรวมกัน เช่น กระบวนการกรอง การตกตะกอน การดูดซับสารอาหารของพืชและการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ กระบวนการออกซิเดชัน–รีดักชัน (oxidation-reduction) บึงหรือพื้นที่ชุ่มน�้ ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และรวมถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลในบริเวณเมื่อน�้ ำลงต�่ ำสุดมีความลึกของระดับน�้ ำไม่เกิน ๖ เมตร บึงประดิษฐ์ (Constructed wetlands) ( http://wastewaterthai.com ๒๕๕๕), (สมพล บุญเฟรือง ๒๕๕๖), (T. Saeed & G. Sun 2012: 429-448 ) ระบบบ� ำบัดน�้ ำเสียแบบบึงประดิษฐ์เป็นพื้นที่ชุ่มน�้ ำที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบพื้นที่ชุ่มน�้ ำที่มี อยู่ตามธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการทางธรรมชาติในการบ� ำบัดมลพิษที่ปนเปื้อนในน�้ ำ ทั้งกระบวนการ ทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีววิทยา กระบวนการทางชีววิทยานั้นจะอาศัยทั้งพืชและจุลินทรีย์เป็นหลัก ในการบ� ำบัดมลพิษ พืชที่ใช้ต้องสามารถเจริญเติบโตได้ดีในน�้ ำเสียชนิดนั้น พืชเหล่านั้นจะใช้สารมลพิษปน เปื้อนในน�้ ำเสียเป็นสารอาหาร และเพิ่มออกซิเจนในน�้ ำเสียโดยการส่งออกซิเจนจากอากาศผ่านทางปากใบ ของพืชไปยังรากพืชลงสู่ดินและน�้ ำ และจุลินทรีย์ที่อยู่ในระบบยังย่อยสลายสารมลพิษปนเปื้อนในน�้ ำเสีย ด้วย บึงประดิษฐ์ส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นร่องหรือช่องแคบยาว ๆ เพื่อให้น�้ ำหรือน�้ ำเสียไหล ผ่าน องค์ประกอบของบึงประดิษฐ์ (Constructed wetland component) ( http://wastewaterthai.com ๒๕๕๕) บึงประดิษฐ์สร้างขึ้นเพื่อบ� ำบัดมลพิษทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ในน�้ ำเสีย บึงประดิษฐ์มีองค์ ประกอบหลัก ๓ ส่วน ดังนี้ ๑. ชั้นกรอง หรือตัวกรอง ชั้นกรองหรือตัวกรองที่นิยมใช้มักเป็นวัสดุธรรมชาติ เช่น กรวด หิน ทราย ดิน โดยจะใช้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือใช้รวมกัน ช่องว่างระหว่างชั้นกรองจะเป็นช่องการไหลของ น�้ ำ บริเวณชั้นกรองจะเป็นที่ยึดเกาะของพืชและจุลินทรีย์ และเป็นพื้นที่ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีและชีวเคมี ของสารมลพิษที่ปนเปื้อนในน�้ ำเสีย ชั้นกรองของบึงประดิษฐ์สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ระดับแยกตามปริมาณ ของออกซิเจนละลายน�้ ำ ดังแสดงในรูปที่ ๑ ดังนี้ ก. บริเวณที่มีออกซิเจนสูง (Aerobic zone) เป็นบริเวณผิวน�้ ำของบึงประดิษฐ์ ในบริเวณนี้ ออกซิเจนจากอากาศสามารถละลายลงสู่น�้ ำเสียได้ รวมทั้งเป็นบริเวณที่เกิดการสังเคราะห์ด้วยเแสงโดย สาหร่าย จึงส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนละลายน�้ ำบริเวณดังกล่าวได้มาก จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้จะ เป็นพวกที่ต้องการอากาศหรือออกซิเจน (aerobe) ข. บริเวณที่มีออกซิเจนน้อย (Mildly anaerobic zone or Anoxic zone) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจาก ชั้นที่มีออกซิเจน ชั้นนี้มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต�่ ำ เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีซากพืชสะสมอยู่ หรือเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=