สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การประเมิ นศั กยภาพและเทคโนโลยี การผลิ ตเชื้ อเพลิ งเหลวจากมวลชี วภาพในประเทศไทย 74 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ประเทศไทยได้ก� ำหนดเป้าหมายการใช้เอทานอล ๙ ล้านลิตรต่อวัน และไบโอดีเซล ๕.๙๗ ล้านลิตรต่อวัน ใน พ.ศ. ๒๕๖๔ (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ๒๕๕๕) เชื้อเพลิงเหลวที่ผลิตจากมวลชีวภาพที่สามารถน� ำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในภาคขนส่งใน ประเทศไทย ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล และเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์ โดยที่เอทานอลผลิตจากวัตถุดิบ ประเภทแป้ง น�้ ำตาล และลิกโนเซลลูโลส สามารถน� ำมาผสมกับน�้ ำมันเบนซินเป็นแกโซฮอล ส่วนไบโอดีเซล ที่ผลิตจากปาล์มน�้ ำมันสามารถน� ำมาผสมกับน�้ ำมันดีเซลเป็นไบโอดีเซล และเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์ที่ผลิต จากวัตถุดิบประเภทลิกโนเซลลูโลสสามารถน� ำมาใช้ทดแทนน�้ ำมันเบนซินและน�้ ำมันดีเซลได้ ดังนั้น งาน วิจัยนี้จึงสนใจที่จะประเมินศักยภาพและเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากมวลชีวภาพในประเทศไทย เพื่อจะได้ให้ทราบถึงศักยภาพการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากมวลชีวภาพในประเทศไทย โดยพิจารณาจาก ปริมาณการผลิต การใช้ และการส่งออกของวัตถุดิบ และการใช้น�้ ำในการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากมวลชีวภาพ เนื่องจากน�้ ำจะเป็นทรัพยากรที่ส� ำคัญมากในอนาคต วิธีด� ำเนินการวิจัย งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิในการประเมินศักยภาพการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากมวลชีวภาพ ในประเทศไทย ชนิดของเชื้อเพลิงเหลวที่ท� ำการศึกษา ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล และเชื้อเพลิงเหลว สังเคราะห์ โดยมีวิธีการด� ำเนินการวิจัยดังนี้ ๑. การประเมินศักยภาพวัตถุดิบ ศึกษารวบรวมข้อมูลปริมาณผลผลิตมวลชีวภาพใน ประเทศไทย ได้แก่ มันส� ำปะหลัง กากน�้ ำตาล ปาล์มน�้ ำมัน และวัตถุดิบประเภทลิกโนเซลลูโลสได้แก่ ชาน อ้อย และล� ำต้น ยอด ใบ และซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากนั้นน� ำข้อมูลมาวิเคราะห์กับปริมาณการใช้ในประเทศ และการส่งออก (ยกเว้นวัตถุดิบประเภทลิกโนเซลลูโลส) เพื่อหาปริมาณมวลชีวภาพสุทธิที่เหลือเป็นวัตถุดิบ ส� ำหรับการผลิตเชื้อเพลิงเหลว ๒. การประเมินศักยภาพเทคโนโลยี ค� ำนวณหาสัดส่วนเชื้อเพลิงเหลวที่ผลิตได้ต่อวัตถุดิบ ปริมาณ ๑ ตัน โดยแบ่งตามชนิดของวัตถุดิบและเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต จากนั้นหาศักยภาพการผลิต เชื้อเพลิงเหลว โดยน� ำข้อมูลศักยภาพวัตถุดิบที่ได้จากการประเมินในข้อที่ ๑ มาค� ำนวณกับสัดส่วนการผลิต เชื้อเพลิงเหลว และขั้นตอนสุดท้ายวิเคราะห์หาต้นทุนการผลิตรวมของเทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ เพื่อน� ำมา ใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินหาเทคโนโลยีที่มีศักยภาพการผลิตเชื้อเพลิงเหลวสูงและมีต้นทุนการผลิต รวมต�่ ำ ๓. การประเมินการใช้น�้ ำในการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากมวลชีวภาพ แบ่งออกเป็นหัวข้อหลัก ๒ หัวข้อ คือ การใช้น�้ ำในการเพาะปลูกพืชมวลชีวภาพ วิเคราะห์หาปริมาณน�้ ำที่พืชใช้ในการเพาะปลูก เพื่อ ผลิตเป็นวัตถุดิบมวลชีวภาพส� ำหรับการผลิตเชื้อเพลิงเหลวประเภทต่าง ๆ โดยที่แหล่งน�้ ำที่พืชน� ำมาใช้ใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=