สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
73 ณั ฐวุฒิ เสร็ จกิ จ, วารุณี เตี ย, สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ การประเมินศักยภาพและเทคโนโลยี การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากมวลชีวภาพในประเทศไทย บทคัดย่อ การส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพส� ำหรับการขนส่งเป็นมาตรการหนึ่งในการเพิ่มความ มั่นคงทางด้านการจัดหาพลังงานและช่วยลดแก๊สเรือนกระจก โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินศักยภาพและเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากมวลชีวภาพในประเทศไทย ชนิดของเชื้อ เพลิงเหลวที่ศึกษา ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล และเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์ ศักยภาพวัตถุดิบที่ศึกษา ได้แก่ มันส� ำปะหลัง กากน�้ ำตาล และชานอ้อยส� ำหรับการผลิตเอทานอล ปาล์มน�้ ำมันส� ำหรับการผลิต ไบโอดีเซล และล� ำต้น ยอด ใบ และซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส� ำหรับการผลิตเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์ การ ประเมินศักยภาพจะวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต การน� ำมาใช้ภายในประเทศ และการส่งออกในระหว่าง ค.ศ. ๒๐๐๗–๒๐๐๙ ศักยภาพการผลิตเอทานอล ไบโอดีเซล และเบนซินสังเคราะห์เมื่อหักปริมาณ การใช้ในประเทศและปริมาณการส่งออกแล้วมีค่าประมาณ ๓.๘๒, ๑.๒๔ และ ๐.๗๔ ล้านลิตรต่อ วัน ตามล� ำดับ นอกจากนี้ ความต้องการใช้น�้ ำทั้งหมดส� ำหรับการเพาะปลูกพืชและกระบวนการผลิต เอทานอลจากกากน�้ ำตาล และมันส� ำปะหลัง เท่ากับ ๔๙.๙๒ และ ๑๓๖.๖๙ ลิตรน�้ ำต่อเมกะจูล ตามล� ำดับ ขณะที่การผลิตไบโอดีเซลจากน�้ ำมันปาล์มดิบต้องการใช้น�้ ำทั้งหมด ๒๘๗.๓๖ ลิตรน�้ ำต่อ เมกะจูล ค� ำส� ำคัญ : เชื้อเพลิงชีวภาพ, เชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์, ไบโอดีเซล, ศักยภาพ, เอทานอล ๑ นักศึกษาปริญญาโท คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ๒ รองศาสตราจารย์ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ๓ ศาสตราจารย์ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บทน� ำ แหล่งพลังงานหลักที่ใช้ในภาคขนส่งทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิง เหลวที่มาจากปิโตรเลียมหรือฟอสซิล แต่ในปัจจุบันราคาเชื้อเพลิงเหลวจากปิโตรเลียมหรือน�้ ำมันเชื้อเพลิง ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งเกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลท� ำให้ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความส� ำคัญในการวิจัยและสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทดแทนเพื่อแก้ไขปัญหา ราคาน�้ ำมัน เพิ่มเสถียรภาพทางด้านพลังงาน และลดปัญหาภาวะโลกร้อน แผนพัฒนาพลังงานทดแทนของ ณัฐวุฒิ เสร็จกิจ ๑ วารุณี เตีย ๒ สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ๓
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=