สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
69 จงรั กษ์ ผลประเสริ ฐ, พรรณวี ร์ เมฆวิ ชั ย วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพ องค์การอนามัยโลก ( World Health Organization ; WHO ) กล่าวว่า มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์มากที่สุดคือ มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะมลพิษที่เกิดภายนอกอาคาร ในเมืองใหญ่ ( urban outdoor air pollution ) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชาชนทั่วโลกประมาณ ๑.๓ ล้านคนต่อปี (http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs313/en/2011 ) และสารมลพิษส่วนใหญ่ เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีแหล่งก� ำเนิดหลักจากยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน สารมลพิษที่มี ผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์มากที่สุด คือ ฝุ่นละออง โดยเฉพาะฝุ่นที่มีขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน ( PM 2.5 ) จะมีผลกระทบมากกว่าฝุ่นที่มีขนาดไม่เกิน ๑๐ ไมครอน ( PM 10 ) เพราะสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ส่วนล่างหรือถุงลมปอด ท� ำให้เกิดการระคายเคือง เยื่อหุ้มปอดถูกท� ำลาย การท� ำงานของปอดลดลง เกิดโรค ทางเดินหายใจ โรคในระบบหลอดเลือดหัวใจและก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ถ้าองค์ประกอบในฝุ่นละอองเป็น สารก่อมะเร็ง เช่น พอลิไซคลิกแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ( polycyclic aromatic hydrocarbons ; PAHs ) หรือ VOCs สารมลพิษอันได้แก่ แก๊ส O 3 , NO 2 และ SO 2 มีสมบัติเป็นสารกรดในบรรยากาศ มีฤทธิ์กัดกร่อน ซึ่งท� ำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ เพราะเมื่อคนเราหายใจเอาแก๊ส เหล่านี้เข้าไป จะท� ำให้แก๊สละลายในของเหลวของระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะ SO 2 ที่ละลายน�้ ำได้ดี กว่า เกิดเป็นกรดกัดกร่อนอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ มีผลท� ำให้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง รวมทั้งยังมี ผลต่อผู้ป่วยโรคหืดและโรคทางเดินหายใจ กระตุ้นให้เกิดอาการเร็วขึ้นได้ ส่วนแก๊ส CO ซึ่งมักพบปริมาณ มากในบริเวณการจราจรคับคั่ง เนื่องจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ สามารถเข้าสู่กระแสเลือด ท� ำให้เม็ดเลือดแดงแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้น้อยลง เมื่อร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน จะมี ผลท� ำให้หมดสติและถึงตายได้ มาตรการลดผลกระทบมลพิษทางอากาศจากยานยนต์ การใช้พลังงานทดแทน จะเห็นได้ว่าภาคขนส่งของประเทศไทยใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล คือ น�้ ำมันส� ำเร็จรูป มาก ที่สุด การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านการปล่อยแก๊สเรือนกระจก และสารมลพิษ ต่าง ๆ ที่ท� ำลายสุขภาพประชาชน ดังนั้น การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจึงเป็นมาตรการที่จะช่วยลด การใช้เชื้อเพลิงภาคการขนส่ง ได้แก่ การใช้ เชื้อเพลิงดีเซลชีวภาพ (biodiesel) จากน�้ ำมันพืช อาทิ น�้ ำมัน ปาล์ม น�้ ำมันละหุ่ง น�้ ำมันมะพร้าว น�้ ำมันถั่วเหลือง การใช้ เชื้อเพลิงเอทานอล (ethanol) ซึ่งผลิตจาก มันส� ำปะหลัง อ้อย หรือธัญพืชอื่น ๆ เพื่อน� ำไปผสมกับน�้ ำมันเบนซิน หรือดีเซล นอกจากนี้ยังมีการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่มีกระแสตอบรับที่ดีมากในปัจจุบัน ได้แก่ รถยนต์อีโคคาร์ (eco-car)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=