สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ผลกระทบของยานยนต์ที่ ใช้เชื้ อเพลิ งฟอสซิ ลต่อสิ่ งแวดล้อม 68 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสิ่งแวดล้อม จากรายงานสถานการณ์ข้างต้นดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การเพิ่มจ� ำนวนของยานยนต์มีผลอย่างมาก ต่อการใช้พลังงานจากน�้ ำมันส� ำเร็จรูปในภาคขนส่ง อีกทั้งยังเป็นส่วนส� ำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค โดยผลกระทบหลักต่อสิ่งแวดล้อมจากสารมลพิษยานยนต์มีดังนี้ อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น (global warming) จากแก๊สเรือนกระจก ( greenhouse gases ) ท� ำให้โลกมีพลังงานความร้อนสะสมอยู่บนผิวโลกและชั้นบรรยากาศมากขึ้น และเป็นตัวการหลักของ ปรากฏการณ์เรือนกระจก ( greenhouse effect ) เป็นเหตุท� ำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น เกิดผลกระทบท� ำให้ สภาพ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (climate change) สภาพลมและฝนแปรปรวน ซึ่ง IPCC ได้กล่าวว่า หากยังไม่ สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้น ๐.๒-๐.๕ องศาเซลเซียส ทุก ๑๐ ปี ท� ำให้เกิด ปัญหาระดับน�้ ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากน�้ ำแข็งขั้วโลกจะละลาย เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง และก่อให้เกิดปัญหา น�้ ำท่วมอย่างรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยมีการประมาณว่า พ.ศ. ๒๖๓๓ น�้ ำทะเลจะสูงขึ้นถึง ๖๐ เซนติเมตร ซึ่ง จะท� ำให้เมืองส� ำคัญและท่าเรือจมอยู่ใต้ผิวน�้ ำได้ เช่น ประเทศมัลดีฟส์ หรือเนเธอร์แลนด์ (cpfshe.cpportal. net/Portals/O/file/air.doc) นอกจากนี้ยังมีผลท� ำให้ ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง ฤดูหนาวจะอุ่นขึ้น ระดับน�้ ำ ทะเลเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ ขณะเดียวกันในบางพื้นที่ทะเลทรายขยายกว้างกว่าเดิม ดังนั้น พื้นที่ป่าไม้จะลด ลง สิ่งมีชีวิตบางชนิดจะสูญพันธุ์ วัชพืชและพืชบางชนิดจะโตเร็วเนื่องจากได้รับ CO 2 เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพืช ตระกูลหัว แต่จะท� ำให้สภาพดินเสื่อมเร็วจากการที่แร่ธาตุถูกพืชน� ำไปใช้มาก อันจะ มีผลต่อเกษตรกรรมได้ ที่ส� ำคัญยังมี ผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ ท� ำให้โรคเขตร้อนระบาดมากขึ้น และผลกระทบจากคลื่นความ ร้อนและคลื่นความเย็นที่เพิ่มสูงขึ้น มีโอกาสท� ำให้มนุษย์เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ สารมลพิษทางอากาศยังส่งผลกระทบอันเห็นได้ชัดเจนทางกายภาพ (วนิดา จีนศาสตร์ ๒๕๕๑), (วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ และคณะ ๒๕๓๖) เช่น มีผลต่อ ระยะที่สามารถมองเห็นได้ (visibility) ฝุ่นละออง ทุกขนาดในอากาศมีผลต่อการปิดกั้นทางเดินของแสง ยิ่งมีปริมาณมากยิ่งท� ำให้ระยะในการมองเห็นลดลง หรือการเพิ่มปริมาณของแก๊ส O 3 เกิดสภาพโฟโตเคมิคัลสม็อก ( photochemical smog ) ซึ่งมีลักษณะเหมือน หมอกสีขาวปกคลุมทั่วไปในชั้นบรรยากาศ สารมลพิษ SO 2 , NO 2 , O 3 หรืออนุภาคฝุ่นละอองบางชนิด มีสมบัติท� ำให้เกิดสารกรดในบรรยากาศ และท� ำให้เกิดฝนกรดตกสะสม มีผลต่อแหล่งน�้ ำอุปโภคบริโภคโดย ทั่วไป และมีผลโดยตรงท� ำให้วัสดุและอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ เกิดความสกปรกเลอะเทอะและเกิด สภาพ เสียหายจากการถูกกัดกร่อน มลพิษทางอากาศยังมี ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยการท� ำลาย เซลล์เนื้อเยื่อพืช ท� ำลายคลอโรฟิลล์และการสังเคราะห์ด้วยแสง ท� ำให้ต้นไม้พืชผักไม่เจริญและตายเร็ว ก่อให้เกิดสภาพดินที่เป็นกรดท� ำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงซึ่งจะส่งผลต่อระบบนิเวศในระยะยาวได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=