สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

67 จงรั กษ์ ผลประเสริ ฐ, พรรณวี ร์ เมฆวิ ชั ย วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ โลกของเรามีปริมาณการปล่อยแก๊ส CO 2 ประมาณ๓๔ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า ซึ่งสูงกว่าใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ร้อยละ ๒.๕ ของปริมาณการปล่อยแก๊ส CO 2 ทั้งหมด ประเทศที่ปล่อย แก๊ส CO 2 มากที่สุด ๕ อันดับแรก ได้แก่ ๑) ประเทศจีน มีปริมาณการปล่อยแก๊ส CO 2 เท่ากับ ๘,๘๗๖ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ๒) สหรัฐอเมริกา ๖,๐๒๗ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ๓) อินเดีย ๑,๗๘๗ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ๔) รัสเซีย ๑,๖๗๔ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า และ ๕) ญี่ปุ่น ๑,๓๑๑ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ประเทศไทยมีปริมาณการปล่อย แก๊ส CO 2 เท่ากับ ๒๙๙ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เป็นอันดับที่ ๒๒ จากการจัดล� ำดับการปล่อย แก๊ส CO 2 โลก ปริมาณการปล่อยแก๊ส CO 2 นี้เพิ่มขึ้นถึงประมาณ ๓ เท่าจากการปล่อยของ พ.ศ. ๒๕๓๓ (http://www.pointcarbon.com/news/reutersnews/1.2057659, 2012) คุณภาพอากาศของประเทศไทย เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจ� ำนวนยานยนต์ของประเทศในแต่ละปี และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังภาวะ มลพิษทางอากาศอันจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ กรมควบคุมมลพิษจึง ได้ก� ำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป ( Thailand ’ s National Ambient Air Quality Standards ) (กรมควบคุมมลพิษ ๒๕๕๖) รวมทั้งตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ PMs , O 3 , NO 2 , SO 2 , CO และ VOCs และพบว่า สารมลพิษในบรรยากาศที่ตรวจวัดได้ในปริมาณที่สูงและ เกินกว่ามาตรฐานหลายแห่ง ซึ่งสารมลพิษที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อคุณภาพอากาศมากที่สุดนั้นมาจากปัญหา ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และ PM 10 มักพบบริเวณริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่น โดยเฉพาะในเขต กรุงเทพมหานคร และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทั้งนี้ประเทศไทยเริ่มมีการตรวจ PM 2.5 เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓ จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๕๕๕ มีสถานีตรวจวัด PM 2.5 ทั้งสิ้น ๕ สถานีทั่วประเทศ ปัญหาสารมลพิษทาง อากาศรองลงมาคือแก๊ส O 3 ซึ่งส่วนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศที่มนุษย์อยู่อาศัย ( tropospheric ozone หรือ ground level ozone ) มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีโฟโตเคมิคัลออกซิแดนต์ ( photochemical oxidants ) ระหว่าง NO x , CO และสาร VOCs อันเป็นแก๊สที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสีย รถยนต์และไอระเหยจากถังเก็บน�้ ำมันเชื้อเพลิง โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ท� ำให้ปริมาณของ แก๊ส O 3 เกินกว่ามาตรฐานในหลายสถานีตรวจวัดทั่วประเทศ นอกจากนี้ สารมลพิษทางอากาศที่ก� ำลังเป็น ปัญหาส� ำคัญในเขตเมืองของประเทศไทยคือปัญหาจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศ ( VOCs ) (วรรณา เลาวกุล ๒๕๕๔) เนื่องจากเป็นตัวการส� ำคัญที่ท� ำให้เกิดแก๊ส O 3 และแหล่งก� ำเนิดที่ปล่อย VOCs มากที่สุดนั้น มาจากยานยนต์พาหนะ ในประเทศไทยเริ่มมีการติดตามสถานการณ์ VOCs ใน พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งโดยทั่วไป พบ VOCs บางชนิดมีปริมาณเกินกว่ามาตรฐานในหลายจุดตรวจวัด เช่น เบนซีน ( benzene ), คลอโรฟอร์ม ( chloroform ), ๑,๓-บิวทาไดอีน (1,3- butadiene ) และ ๑,๒-ไดคลอโรอีเทน (1,2- dichloroethane ) ในส่วนของสารมลพิษชนิดอื่น ๆ ได้แก่ NO 2 , SO 2 และ CO จากการตรวจวัดที่ผ่านมาพบว่า ส่วนมากยัง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกปี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=