สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ผลกระทบของยานยนต์ที่ ใช้เชื้ อเพลิ งฟอสซิ ลต่อสิ่ งแวดล้อม 66 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจกในประเทศไทยและทั่วโลก ตามรายงานของการจัดท� ำบัญชีแก๊สเรือนกระจกของประเทศไทย (บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อม ๒๕๕๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งค� ำนวณตามคู่มือการจัดท� ำบัญชีแก๊สเรือนกระจกแห่ง ชาติ ค.ศ. ๑๙๙๖ ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( IPCC ) พบ ว่า ปริมาณแก๊สเรือนกระจกรวมของประเทศ ( National Total Emission ) ใน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีค่าเท่ากับ ๒๒๙.๐๘ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ส่วนปริมาณการปล่อยแก๊ส CO 2 ของประเทศทั้งหมดคิด เป็นร้อยละ ๖๘.๙, ปริมาณแก๊ส CH 4 ร้อยละ ๒๕.๗ และแก๊ส N 2 O ร้อยละ ๕.๔ โดยที่สาขาที่เป็นล� ำดับ แหล่งปล่อยหลักส่วนใหญ่อยู่ในภาคพลังงาน โดยเฉพาะสาขาขนส่งทางบกซึ่งมีปริมาณการปล่อยเป็นล� ำดับ แรก รองลงมาคือสาขาการผลิตก� ำลังไฟฟ้าจากแก๊สธรรมชาติ และสุดท้ายสาขาการใช้พลังงานในโรงงาน อุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ถ้าหากสาขาการผลิตก� ำลังไฟฟ้านั้นรวมค่าการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจาก ทั้งแก๊สธรรมชาติและจากลิกไนต์ ก็จะท� ำให้ล� ำดับแหล่งปล่อยหลักสูงกว่าสาขาขนส่งทางบก นอกจากนี้ จากการคาดการณ์ปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของประเทศไทยในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า (พ.ศ. ๒๕๖๓) โดยอาศัยการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งประเทศ ถ้าหากไม่มีมาตรการในการลดแก๊สเรือน กระจกในประเทศจะเพิ่มเป็น ๔๙๘ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ ๓.๙ ต่อปี (ชยันต์ ตันติวัสดาการ และคณะ ๒๕๕๓) จากข้อมูลการปล่อยแก๊ส CO 2 ของโลก พบว่า ๒ ใน ๓ ของการปล่อยแก๊ส CO 2 ของโลก มา จากภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคขนส่งเป็นหลัก (รูปที่ ๔) คิดเป็นร้อยละ ๔๑ และ ๒๒ ตามล� ำดับ รูปที่ ๔ อัตราร้อยละของการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จ� ำแนกตามภาคส่วน ที่มา: องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency 2012)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=