สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

63 จงรั กษ์ ผลประเสริ ฐ, พรรณวี ร์ เมฆวิ ชั ย วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ บทน� ำ ปัจจุบันผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในเขตเมืองหลวงขนาดใหญ่นับเป็นปัญหาอย่าง หนึ่งทั่วโลก สืบเนื่องมาจากจ� ำนวนประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ท� ำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นตามมา สาเหตุ หลักของปัญหาอากาศเสียในเขตเมืองหรือชุมชนขนาดใหญ่ มักอยู่ในภาคการคมนาคมขนส่งและ ภาวะการจราจรที่หนาแน่นและติดขัดบนท้องถนน ยานยนต์ประเภท รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถ ประจ� ำทางและรถบรรทุกที่ใช้น�้ ำมันเบนซินหรือน�้ ำมันดีเซล นับเป็นแหล่งก� ำเนิดมลพิษทางอากาศ ประเภทเคลื่อนที่ได้ หรือ mobile sources ซึ่งจะปลดปล่อยสารมลพิษสู่อากาศจากการระเหย ของไอเชื้อเพลิง, การระบายจากห้องเครื่องยนต์ และการระบายสารพิษที่มากที่สุดคือการระบาย จากท่อไอเสีย (ส� ำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ๒๕๕๔) สารมลพิษหลักที่เกิดจากการเผาไหม้ เชื้อเพลิงในยานยนต์ ได้แก่ ฝุ่นละออง ( particulate matters ; PMs ), แก๊สโอโซน ( O 3 ), แก๊สไฮโดรคาร์บอน ( hydrocarbons ; HCs ), แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ ( nitrogen dioxide ; NO 2 ), แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ( sulfur dioxide ; SO 2 ), แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ ( carbon monoxide ; CO ) และสารอินทรีย์ระเหย ง่าย ( volatile organic compounds ; VOCs ) นอกจากนี้ยังมีสารมลพิษหลักที่ส่งผลกระทบและก่อให้ เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมโลก ทั้งในประเทศที่ก่อมลพิษและประเทศที่ไม่ได้ก่อมลพิษต่างก็ได้รับ ผลกระทบเช่นกัน นั่นคือแก๊สเรือนกระจก ( green house gases ; GHGs ) โดยเฉพาะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ( carbon dioxide ; CO 2 ) อันเป็นตัวการส� ำคัญที่ท� ำให้พื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น เกิด การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการแปรปรวนของภูมิอากาศของโลก อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มากกว่าแก๊สเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ ด้วย (วนิดา จีนศาสตร์ ๒๕๕๑) จ� ำนวนยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมและการขนส่ง รวมไปถึงจ� ำนวนยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นตาม การเพิ่มจ� ำนวนของประชากร นับเป็นปัจจัยส� ำคัญที่ท� ำให้เกิดมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เช่น นิวยอร์ก ลอนดอน ปักกิ่ง รวมไปถึงกรุงเทพมหานคร ที่มีจ� ำนวนยานยนต์ บนท้องถนนมากมายและการจราจรหนาแน่นติดขัด สารมลพิษที่ปนเปื้อนในอากาศจึงเพิ่มมากขึ้นตาม จากรายงานจ� ำนวนรถยนต์ทั่วโลกในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๕๓ พบว่ามีจ� ำนวนรถยนต์ที่จดทะเบียน ทั่วโลกเพิ่มขึ้นทุกปี ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ จ� ำนวนรถยนต์ที่จดทะเบียนทั่วโลกมีทั้งสิ้นมากกว่า ๑,๐๐๐ ล้านคัน และสัดส่วนของผู้มีรถยนต์ในครอบครองต่อจ� ำนวนประชากรทั่วโลก พ.ศ. ๒๕๕๓ คือ ๑๔๘ คันต่อ ประชากร ๑,๐๐๐ คน ( global vehicle ownership per capita ) (http://wardsauto.com/ar/world _ vehicle _ population _ 110815, 2013)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=