สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ผลกระทบของยานยนต์ที่ ใช้เชื้ อเพลิ งฟอสซิ ลต่อสิ่ งแวดล้อม 62 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 จงรักษ์ ผลประเสริฐ ภาคีสมาชิก ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พรรณวีร์ เมฆวิชัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ผลกระทบของยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ต่อสิ่งแวดล้อม บทคัดย่อ จ� ำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วส่งผลให้เมืองใหญ่ใน แต่ละจังหวัดของประเทศไทย โดยเฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ประสบกับปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งมีสาเหตุส� ำคัญมาจากจ� ำนวนยานยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากจ� ำนวนรถที่จดทะเบียนสะสม ทั่วประเทศไทยมีเพิ่มขึ้นมากกว่า ๑ ล้านคันในแต่ละปี ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ ประเทศไทยมีจ� ำนวนรถ ทั้งสิ้นประมาณ ๓๒ ล้านคัน ในกรุงเทพมหานครมีจ� ำนวนรถมากที่สุดประมาณ ๗ ล้านคัน การ เพิ่มจ� ำนวนของยานยนต์พาหนะเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะการจราจรหนาแน่นและติดขัดบนท้องถนน น�้ ำมันถูกเผาผลาญมากขึ้น สารมลพิษต่าง ๆ ถูกระบายมาจากท่อไอเสียรถยนต์ ได้แก่ ฝุ่นละออง (PMs) , แก๊สโอโซน (O 3 ) , แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO 2 ), แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO 2 ), แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เมื่อมลพิษเหล่านี้มีปริมาณ เพิ่มขึ้น จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบและเกิดความเสียหาย แก่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจก (GHGs) ในภาคขนส่งของ ประเทศไทยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการใช้พลังงานหลักจากน�้ ำมันส� ำเร็จรูป อันได้แก่ น�้ ำมัน ดีเซล น�้ ำมันเบนซิน น�้ ำมันเตา น�้ ำมันเครื่องบิน และ LPG ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิด แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) ในบรรยากาศ ท� ำให้เกิดภาวะโลกร้อนและสภาพภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น ประเทศไทยควรมีแนวทางส่งเสริมการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนแบบรางและ การใช้พลังงานทดแทนในยานยนต์อย่างเหมาะสม เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า (ยานยนต์ไฮบริด ยานยนต์ ไฮบริดแบบปลั๊กอิน ยานยนต์ไฟฟ้า) หรือพลังงานทดแทนอื่น ๆ เพื่อจัดการกับปัญหามลพิษทาง อากาศอย่างยั่งยืนของประเทศไทย ค� ำส� ำคัญ : มลพิษทางอากาศ, ยานยนต์, การจราจรติดขัด, สารมลพิษในไอเสีย, แก๊สเรือนกระจก, น�้ ำมันส� ำเร็จรูป, ยานยนต์ไฟฟ้า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=