สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

53 มงคล เดชนคริ นทร์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ การทดสอบการท� ำงานของไมโครโพรเซสเซอร์ 8088 และระบบหน่วยความจ� ำ การทดสอบการท� ำงานเชิงตรรกะของวงจรรวม 8088 จะใช้ชิ้นส่วนวงจร (ฮาร์ดแวร์) ตามที่แสดง ไว้ในรูปที่ ๒ และรูปที่ ๓ รวมกัน อีกทั้งใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ซอฟต์แวร์) ซึ่งในที่นี้เขียนเป็นภาษา แอสเซมบลี ( Fuller 1995: 40) และเมื่อแอสเซมเบิลและลิงก์ให้อยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลฐานสองแล้ว ก็ บรรจุเข้าไว้ในอีพร็อม (วงจรรวม 27256) เพื่อใช้กับไมโครโพรเซสเซอร์ 8088 ถ้าวงจรโดยรวมในที่นี้ ท� ำงานได้ตามที่ก� ำหนด ซึ่งจะทราบได้จากการใช้หัวตรวจค่าตรรกะ ( logic probe ) สังเกตสัญญาณออกที่ ขา 28 ( IO /~ M ) ของวงจรรวม 8088 ก็แสดงว่าวงจรในรูปที่ ๒ และรูปที่ ๓ ต่อไว้ถูกต้องแล้ว รายละเอียด ของการทดลองและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบวงจรส่วนนี้มีอยู่ใน Fuller (1995: 35-42) ผู้ ที่สนใจโปรดดูรายละเอียดดังกล่าวจากเอกสารอ้างอิงชิ้นนี้ การทดสอบการท� ำงานของวงจรรวมตัวจับเวลา/วงจรนับ 8253 การท� ำงานเชิงตรรกะของวงจรรวม 8253 ตามรูปที่ ๕ สามารถทดสอบได้โดยการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ขึ้นใช้กับไมโครโพรเซสเซอร์ 8088 เพื่อสั่งให้วงจรรวม 8253 ปล่อยสัญญาณรูปคลื่นสี่เหลี่ยม ผืนผ้า (การท� ำงานในโหมด 3) ที่มีความถี่ตายตัวค่าหนึ่งออกมาทางขา 10 ( OUT 0) และขา 13 ( OUT 1) ถ้าได้สัญญาณตามที่ก� ำหนดไว้นี้ ก็แสดงว่าวงจรรวม 8253 ต่อไว้ถูกต้องและท� ำงานได้ดีแล้ว โปรแกรม (ภาษาแอสเซมบลี) ที่เขียนขึ้นใช้กับการทดสอบวงจรส่วนนี้เป็นดังที่แสดงไว้ในรูปที่ ๘ ; Program to test IC 8253 .model tiny .code ;เลขที่อยู่ของเรจิสเตอร์ภายในวงจรรวม 8253 count0 equ 30h ; เลขที่อยู่ของเรจิสเตอร์ส� ำหรับวงจรนับ #0 count1 equ 31h ; เลขที่อยู่ของเรจิสเตอร์ส� ำหรับวงจรนับ #1 count2 equ 32h ; เลขที่อยู่ของเรจิสเตอร์ส� ำหรับวงจรนับ #2 ctrl equ 33h ; เลขที่อยู่ของเรจิสเตอร์ส� ำหรับวงจรควบคุมภายใน org 8000h ; เลขที่อยู่ต� ำแหน่งแรกในอีพร็อม main proc start: mov al,00110110b ; ข้อมูลเพื่อการท� ำงานโหมด 3 รูปคลื่นสี่เหลี่ยมของวงจรนับ #0 out ctrl,al ; เขียนข้อมูลลงในเรจิสเตอร์ส� ำหรับวงจรควบคุมภายใน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=