สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่ อการเรี ยนรู้ 38 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 แผงวงจรตามรูปที่ ๑ นี้ ผู้นิพนธ์ดัดแปลงมาจากแผงวงจรที่ Fuller (1995: 9) ได้เสนอแนะไว้ โดย เปลี่ยนแปลงต� ำแหน่งของชิ้นส่วนบางชิ้นในวงจร และที่ส� ำคัญก็คือผู้นิพนธ์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการต่อระหว่าง ชิ้นส่วนเหล่านี้ จากแบบที่ใช้ลวดพัน (wire wrap) มาเป็นแบบวงจรพิมพ์ ( Printed circuit ) และการบัดกรี ซึ่งท� ำให้ต่อวงจรได้สะดวกและตรวจหาจุดบกพร่องได้ง่ายกว่า ชิ้นส่วนที่เป็นหัวใจส� ำคัญของแผงวงจรตามรูปที่ ๑ อยู่ในต� ำแหน่งที่ ๓ นับจากด้านซ้ายของแถวบน นั่นคือ ไมโครโพรเซสเซอร์ Intel 8088 (หรือ NEC V20 ) ซึ่งมีชิ้นส่วนเสริม คือ วงจรรวม 8284 (วงจรสร้าง สัญญาณนาฬิกา) กับผลึกควบคุมความถี่ (XTAL) วงจรรวม 7400 (ส� ำหรับสร้างสัญญาณทดสอบ) วงจร รวม 74373 (ตัวแลตช์เลขที่อยู่ของข้อมูล) และวงจรรวม 74138 (จ� ำนวน ๒ ตัวซึ่งใช้ถอดรหัสสัญญาณ ควบคุมส� ำหรับชิ้นส่วนอื่น ๆ) ถัดจากวงจรรวม 8088 ไปทางขวาก็คือวงจรรวม 62256 ซึ่งเป็นหน่วยความ จ� ำแรมแบบสถิต (static RAM) และวงจรรวม 27256 ซึ่งเป็นหน่วยความจ� ำรอมชนิดโปรแกรมและลบ ได้ (erasable programmable ROM) หรือ อีพร็อม (EPROM) ถัดจากนี้ไปทางขวาก็คือวงจรรวม 8251 ซึ่งเป็นช่องทางเข้า/ออกส� ำหรับสัญญาณแบบอนุกรม (serial I/O port) และมีชิ้นส่วนเสริม คือ วงจรรวม MAX 232 ซึ่งใช้ปรับระดับสัญญาณทีทีแอล (TTL) คือ 0/5 โวลต์เป็นระดับสัญญาณอาร์เอส 232 ( RS 232) คือ +12/-12 โวลต์ อีกทั้งหัวต่อแบบ DB 9 ตัวเมียซึ่งจะใช้ต่อกับระบบดิจิทัลอื่นอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคล (personal computer) หรือ พีซี (PC) ชิ้นส่วนในแถวล่างของแผงวงจรในรูปที่ ๑ เริ่มต้นจากวงจรรวม 8253 ซึ่งเป็นตัวสร้างสัญญาณ จับเวลา (timer) โดยที่สัญญาณออกมีความถี่ตามค� ำสั่งของโปรแกรมควบคุม ถัดไปทางขวาเป็นวงจรรวม 8259 ซึ่งเป็นตัวควบคุมการขัดจังหวะการท� ำงานแบบโปรแกรมได้ของไมโครโพรเซสเซอร์ ( programmable interrupt controller, PIC) และถัดไปทางขวาอีกก็คือวงจรรวม 8255 ซึ่งเป็นตัวต่อประสานอุปกรณ์รอบ ข้างแบบขนาน (parallel peripheral interface, PPI) หรือช่องทางเข้า/ออกส� ำหรับสัญญาณแบบขนาน (parallel I/O port) วงจรรวม 8255 นี้มีชิ้นส่วนเสริมคือวงจรรวม 74240 ซึ่งเป็นบัฟเฟอร์ (buffer) ส� ำหรับ สัญญาณออกขนาด ๘ บิต ผ่านตัวต้านทานจ� ำนวน ๘ ตัว คือ 8 x R ไปยังไดโอดเปล่งแสงจ� ำนวน ๘ ตัว คือ 8 x LED ชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ต่อไว้ในแผงวงจรตามรูปที่ ๑ แต่ได้รับการส� ำรองพื้นที่ดังที่แสดงไว้ด้วย กรอบสี่เหลี่ยมเส้นประ ก็คือวงจรรวม 8251 ตัวที่ ๒ วงจรรวม MAX 232 ตัวที่ ๒ วงจรรวม 8255 ตัวที่ ๒ และวงจรรวม ADC 0804 ซึ่งเป็นตัวแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิทัล (analog-to-digital converter) รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใส่แรงดันไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายก� ำลังและชิ้นส่วนต่าง ๆ ดังกล่าว ข้างต้นมีดังต่อไปนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=