สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
น�้ ำมั นและไขมั นในน�้ ำเสี ยชุมชน 30 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 วัสดุธรรมชาติและมูลโคแห้งในอัตราส่วน ๓ : ๗ : ๕ ความชื้นประมาณ ๔๕-๕๐ เปอร์เซนต์ และใช้เวลา หมัก ประมาณ ๒-๓ เดือน จะได้ปุ๋ยหมักที่มีสีด� ำคล�้ ำ มีเนื้อละเอียด มีกลิ่นคล้ายดินและมีสารอินทรีย์ และ ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช สามารถน� ำไปใช้แทนปุ๋ยเคมี (กรมควบคุมมลพิษ ๒๕๕๑ : ๒-๓๒) อนึ่ง ใน ระยะแรกของการหมักควรมีการกลับกองปุ๋ยหมักบ่อย ๆ และรักษาระดับความชื้นของกองปุ๋ยหมักโดยการ พรมน�้ ำด้วย ทั้งนี้เพราะในระยะแรกจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักจะเจริญเติบโตและย่อยสลายสารอินทรีย์อย่าง รวดเร็ว ท� ำให้ระดับออกซิเจนในกองลดลงอย่างรวดเร็ว และเกิดความร้อนขึ้น การกลับกองปุ๋ยจึงเป็นการ ลดอุณหภูมิในกองลงและเพิ่มออกซิเจนในกองปุ๋ยอีกทางหนึ่ง ท� ำเชื้อเพลิงอัดแท่ง การท� ำเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากไขมันเป็นอีกวิธีหนึ่งในการก� ำจัดและใช้ ประโยชน์จากกากไขมันที่ได้จากระบบบ� ำบัดน�้ ำเสีย เมื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมแล้ว ร้านอาหารใน โรงแรมมีความเหมาะสมในการแปรรูปกากไขมันเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง เนื่องจากมีปริมาณกากไขมันมาก และมีความสกปรกมาก ความพร้อมในเรื่องก� ำลังคน และศักยภาพในการลงทุน วิธีการผลิตเริ่มจากการน� ำ กากไขมันผสมกับขี้เลื่อยหรือเศษวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ผักตบชวา ซังข้าวโพด เปลือกทุเรียน ในอัตราส่วน ๕ : ๓ โดยผสมให้เข้ากัน กวนด้วยเครื่องกวนผสม นาน ๑-๒ นาที น� ำส่วนผสมที่ได้ไปอัดเป็น แท่งด้วยเครื่องอัดแท่ง น� ำแท่งเชื้อเพลิงที่ได้ตากแดดประมาณ ๓ วัน น� ำแท่งเชื้อเพลิงที่แห้งดีแล้ว เรียงใส่ เตาเผาถ่านแบบนอนหรือแบบตั้ง เผาที่อุณหภูมิประมาณ ๒๐๐ องศาเซลเซียส นานประมาณ ๖ ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็นในเตาเผา ๑ คืน ก่อนน� ำออกจากเตาเผา (กรมควบคุมมลพิษ ๒๕๕๑ : ๒-๓๒) จะเห็นได้ว่าไขมันนั้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย แต่ถ้าเรารู้จักลดปริมาณไขมัน ที่แหล่งก� ำเนิดเบื้องต้น รวมทั้งจัดหากระบวนการก� ำจัดหรือบ� ำบัดไขมันที่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งน� ำกาก ไขมันมาใช้ประโยชน์ใหม่ ย่อมสามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน การก� ำจัดกากไขมันที่ไม่สามารถน� ำกลับมาใช้ใหม่ได้ กากไขมันที่แยกออกจากน�้ ำเสียในบางครั้งไม่สามารถน� ำมาพัฒนากลับมาใช้ใหม่ (recycle) ได้จึงจ� ำเป็นต้องมีการก� ำจัดที่เหมาะสมดังนี้ ๑. การฝังกลบในหลุมฝังกลบที่ถูกหลักสุขาภิบาล (sanitary landfill) โดยน� ำกากไขมันไป ฝังกลบด้วยกระบวนการตามหลักสุขาภิบาลในพื้นที่ที่ได้คัดเลือกอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น การปนเปื้อนของน�้ ำชะกากไขมันไหลซึมลงสู่ชั้นน�้ ำใต้ดิน หรือ แหล่งน�้ ำธรรมชาติ ๒. ส่งไปก� ำจัดยังโรงงานก� ำจัดขยะที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในส่วนนี้จะเห็น ได้ว่า น�้ ำมันและไขมันจากสถานีบริการน�้ ำมันเชื้อเพลิงต้องส่งไปก� ำจัดยังโรงงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงาน อุตสาหกรรม (กรมควบคุมมลพิษ ๒๕๕๑ : ๒-๓๒) โดยการก� ำจัดของโรงงานดังกล่าว จะน� ำไปเป็นเชื้อเพลิง ในเตาเผา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=